Page 1417 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1417
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขต
ภาคเหนือตอนล่าง
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ
3. ชื่อการทดลอง อิทธิพลของอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตและคุณภาพของบัวเข็ม
Effect of Chemical Fertilizer Application on Bua Khem
(Smithatris myanmarensis) Yield and Quality
4. คณะผู้ดำเนินงาน เกตุวดี สุขสันติมาศ ชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ 2/
1/
วราพงษ์ ภิระบรรณ์ 3/
5. บทคัดย่อ
อิทธิพลของอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตและคุณภาพของบัวเข็ม เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน
ตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2558 ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก และ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพรางแสงและอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่
เหมาะสมของบัวเข็ม ผลการดำเนินการวิจัยการทดสอบปุ๋ย 5 อัตรา พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
อัตรา 10 กรัมต่อหลุม รองพื้นก่อนปลูก โดยใช้ดิน แกลบดิบ แกลบดำ และมูลวัว ในอัตรา 1 ส่วนเท่ากัน
เป็นวัสดุปลูกก็เพียงพอต่อการผลิตดอก หากต้องการผลิตเพื่อใช้หัวพันธุ์ ควรเพิ่มธาตุอาหารในวัสดุปลูก
ด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 5 - 20 กรัมต่อกอ ในช่วงออกดอกและสะสมอาหาร เนื่องจาก
จะช่วยให้มีการสะสมอาหารไว้ในเหง้าและตุ้มรากมากขึ้น ทำให้เหง้ามีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ซึ่งจะให้ดอก
ที่มีคุณภาพสูง และตาข่ายพลาสติกพรางแสงที่เหมาะสมในการปลูกบัวเข็ม คือ สามารถพรางแสงได้
50 - 70 เปอร์เซ็นต์ ไม่ควรเกินกว่านี้เพราะทำให้ผลผลิตลดลง
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้ข้อมูลลักษณะทางพฤกษศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกบัวเข็ม เพื่อเป็น
แหล่งพันธุกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์บัวเข็มได้ต่อไป และช่วยให้เกษตรกรสามารถ
นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาอัตราการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมไปใช้ในการผลิตดอกบัวเข็ม เพื่อเป็นทางเลือก
ในการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย
3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
1350