Page 1418 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1418

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขต
                                                   ภาคเหนือตอนล่าง

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ

                       3. ชื่อการทดลอง             อิทธิพลของวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตหัวพันธุ์บัวเข็ม
                                                   Effect  of  Growing  Media  on  Bua  Khem  (Smithatris

                                                   myanmarensis) Seeded Rhizome Production

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          เกตุวดี  สุขสันติมาศ         ชัยณรงค์  จันทร์แสนตอ 2/
                                                                    1/
                                                   จิตอาภา  ชมเชย               ธัญพร  งามงอน 3/
                                                                 3/
                       5. บทคัดย่อ

                              การศึกษาอิทธิพลของวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตหัวพันธุ์บัวเข็ม เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน
                       ตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2558 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ การศึกษาวัสดุปลูก

                       6 กรรมวิธี เพื่อหาอัตราส่วนของวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการผลิตหัวพันธุ์ พบว่า วัสดุปลูกที่เหมาะสมในการ
                       ผลิตหัวพันธุ์บัวเข็มมากที่สุด คือ แกลบดิบ : แกลบดำ : มูลวัว สัดส่วน 2 : 1 : 1 รองลงมา คือ

                       ดิน : แกลบดิบ : มูลวัว สัดส่วน 1 : 1 : 1 การใช้ดินเพียงอย่างเดียวปลูกบัวเข็มไม่เหมาะสมในการผลิต
                       หัวพันธุ์ นอกจากจะให้ผลผลิตต่ำแล้ว เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ยังจัดการได้ยากอีกด้วย เพราะดินจะ

                       เกาะตัวแน่นกับหัวพันธุ์ ทำให้เวลาเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์หัก เกิดความเสียหาย เป็นช่องทางของเชื้อโรค

                       เข้าทำลายได้ง่าย
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              ได้ข้อมูลลักษณะทางพฤกษศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกบัวเข็ม เพื่อเป็น

                       แหล่งพันธุกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์บัวเข็มได้ต่อไป และช่วยให้เกษตรกรสามารถ
                       นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสัดส่วนผสมของวัสดุปลูกไปใช้ในการผลิตดอกบัวเข็ม เพื่อเป็นทางเลือกในการ

                       เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว













                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย

                       3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์
                                                          1351
   1413   1414   1415   1416   1417   1418   1419   1420   1421   1422   1423