Page 1419 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1419
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขต
ภาคเหนือตอนล่าง
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ
3. ชื่อการทดลอง อิทธิพลของการเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่มีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโต
ของบัวเข็มเพื่อผลิตนอกฤดู
Effect of Seeded Rhizome Storage on Bua Khem (Smithatris
myanmarensis) Germination and Growth for Off - Season
Production
4. คณะผู้ดำเนินงาน วราพงษ์ ภิระบรรณ์ ชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ 2/
1/
เกตุวดี สุขสันติมาศ 3/
5. บทคัดย่อ
อิทธิพลของการเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่มีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของบัวเข็มเพื่อผลิต
นอกฤดู เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2558 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
การเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่มีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของบัวเข็มเพื่อผลิตนอกฤดู พบว่า หัวพันธุ์ที่
เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 ± 2 องศาเซลเซียส และนำออกปลูกทุก 2 4 6 และ 8 เดือน หัวพันธุ์ที่ผ่านการ
เก็บรักษา 6 เดือน ใช้เวลาในการงอกเฉลี่ยต่ำสุด 19 วัน ส่วนการเก็บรักษาหัวพันธุ์ 8 เดือน ใช้เวลา
ในการงอกนานถึง 29 วัน ในด้านเปอร์เซ็นต์การงอก หัวพันธุ์บัวเข็มที่ผ่านการเก็บรักษา 6 เดือน
มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยสูงสุด 92.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการเก็บรักษาหัวพันธุ์ 4 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอก
ต่ำสุด 82.1 เปอร์เซ็นต์ อายุการเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่นานขึ้นเมื่อนำออกปลูก จะส่งผลต่อการเจริญเติบโต
คือบัวเข็มจะมีการเจริญเติบโตลดลง มีอายุการตัดดอกแรกที่นานขึ้น ตลอดจนขนาดของช่อดอกจะมี
ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับหัวพันธุ์ที่ไม่ผ่านการเก็บรักษา
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ในการผลิตดอกบัวเข็ม
เป็นไม้ตัดดอกนอกฤดู เพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย
3/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
1352