Page 1421 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1421

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขต
                                                   ภาคเหนือตอนล่าง

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ

                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษาขนาดหัวพันธุ์ที่มีผลต่อการผลิตบัวเข็มคุณภาพ
                                                   Study on Seeded Rhizome Size on Production of Bua Khem

                                                   (Smithatris myanmarensis) Quality

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ชัยณรงค์  จันทร์แสนตอ        อารีรัตน์  พระเพชร 1/
                                                                       1/
                                                   วิภาวรรณ  ดวนมีสุข                จิตอาภา  ชมเชย 2/
                                                                    1/
                                                   เกตุวดี  สุขสันติมาศ 3/

                       5. บทคัดย่อ
                              การศึกษาขนาดหัวพันธุ์ที่มีผลต่อการผลิตบัวเข็มคุณภาพ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน

                       ตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย การศึกษาขนาดหัวพันธุ์บัวเข็ม
                       ที่ใช้ในการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยกำหนดความยาวของหัวพันธุ์ 5 ระดับ ได้แก่

                       หัวพันธุ์มีความยาว 3  5  7  9 และ 11 เซนติเมตร ผลการทดลอง พบว่า บัวเข็มสามารถเจริญเติบโต
                       ให้ผลผลิตคุณภาพของดอกและคุณภาพหัวพันธุ์ไม่แตกต่างกันมากนัก หัวพันธุ์ที่มีความยาว 9 เซนติเมตร

                       มีแนวโน้มในการให้จำนวนต้นต่อกอ การเจริญเติบโต และจำนวนดอกต่อกอสูงที่สุด รวมถึงคุณภาพของดอก

                       รองลงมาคือหัวพันธุ์ที่มีความยาว 7 เซนติเมตร และ 5 เซนติเมตร แต่ขนาดแง่งบัวเข็มที่นำมาใช้เป็น
                       หัวพันธุ์สำหรับขยายพันธุ์ มีความยาวเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.87 - 7.60 เซนติเมตร ทำให้หาหัวพันธุ์ที่มี

                       ความยาว 9 เซนติเมตร ได้ค่อนข้างยาก หากต้องการพัฒนาเป็นไม้กระถางและสามารถหาหัวพันธุ์ได้ง่าย

                       ควรเลือกใช้หัวพันธุ์ที่มีความยาว 5 - 7 เซนติเมตร
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              ได้ข้อมูลทางการเกษตรของบัวเข็มจากการใช้หัวพันธุ์ที่มีความยาวแตกต่างกัน นำไปใช้ประโยชน์

                       ในการผลิตบัวเข็มเพื่อการค้า และเป็นแนวทางในการพัฒนาเป็นไม้กระถางต่อไป











                       ___________________________________________

                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

                       3/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
                                                          1354
   1416   1417   1418   1419   1420   1421   1422   1423   1424   1425   1426