Page 1420 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1420

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่อย่างมีคุณภาพในเขต
                                                   ภาคเหนือตอนล่าง

                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ

                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษาระยะปลูกในโรงเรือนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
                                                   ของหัวพันธุ์บัวเข็ม

                                                   Study on Spacing in Greenhouse on Bua Khem (Smithatris

                                                   myanmarensis) Seeded Rhizome Growth and Yield
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          เกตุวดี  สุขสันติมาศ         เยาวภา  เต้าชัยภูมิ 2/
                                                                    1/
                                                   จิตอาภา  ชมเชย               ธัญพร  งามงอน 2/
                                                                 2/
                       5. บทคัดย่อ
                              การศึกษาระยะปลูกในโรงเรือนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหัวพันธุ์บัวเข็ม

                       เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์
                       การศึกษาระยะปลูกในโรงเรือน 3 ระยะปลูก ได้แก่ 30 x 30  40 x 40 และ 50 x 50 เซนติเมตร

                       เพื่อเพิ่มผลผลิตของหัวพันธุ์บัวเข็มเชิงพาณิชย์ พบว่า การใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร ทำให้มี
                       จำนวนหัวพันธุ์ จำนวนตุ้มสะสมอาหารต่อกอเพิ่มมากขึ้น หัวพันธุ์มีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้มีจำนวนกลีบดอก

                       จำนวนดอกต่อกอเฉลี่ยมากที่สุด การเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูง ความกว้างลำต้น ความกว้างใบ มีความ

                       สัมพันธ์กับระยะปลูก คือเมื่อปลูกถี่ บัวเข็มต้นจะสูงกว่าการใช้ระยะปลูกที่เพิ่มขึ้น นอกจากระยะปลูกแล้ว
                       สิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง คือการพรางแสง เนื่องจากบัวเข็มเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในป่าค่อนข้างทึบและชื้น ไม่

                       สามารถเจริญเติบโตในสภาพกลางแจ้งได้

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              ได้ข้อมูลลักษณะทางพฤกษศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกบัวเข็ม เพื่อเป็น

                       แหล่งพันธุกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์บัวเข็มต่อไป และเกษตรกรสามารถนำข้อมูลที่ได้

                       จากการศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมไปใช้ในการผลิตดอกและหัวพันธุ์บัวเข็มเพื่อใช้ประโยชน์หรือจำหน่าย
                       เป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว












                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
                       2/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์
                                                          1353
   1415   1416   1417   1418   1419   1420   1421   1422   1423   1424   1425