Page 25 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 25
์
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
ิ
ั
ั
็
คำอธิบายขั้นตอนการวาดแผนที่/แผนผังสถานที่เกิดเหตุ (Prepare Diagram/ Sketch
of Scene) มีรายละเอียดดังนี้
การวาดแผนที่/แผนผังสถานที่เกิดเหตุ เป็นการวาดภาพแผนผังหรือสเกตภาพ
ที่มีการกำหนดมาตราส่วนทิศ ขนาด และระยะต่าง ๆ มาระบุในแผนผัง สามารถทำให้เห็น
รายละเอียดตำแหน่งที่ชัดเจน ซึ่งในการทำแผนที่แผนผังนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคดี
ในการทำแผนผังจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสถานที่เกิดเหตุได้
สำหรับการวาดแผนผังและแผนที่นั้นจะนำเอาเฉพาะสิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับคดีมาจัดทำ
แผนผัง เพื่อไม่ให้เกิดการสร้างเรื่องราวขึ้นมาใหม่ที่จะทำให้เกิดการบิดเบือนข้อมูลได้
เมื่อทำการถ่ายภาพเสร็จแล้ว จะเริ่มการทำแผนที่และแผนผัง โดยมีขั้นตอนการทำดังต่อไปนี้
1) ต้องทำการสังเกตเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป เพื่อจดจำรายละเอียดให้ได้มากที่สุด
2) ในการทำแผนผังและแผนที่ ถ้ามีบริเวณที่ใหญ่เกินไป อาจต้องมีการแยกส่วนกัน
เช่น ภายนอกอาคาร และภายในอาคาร แต่อย่างไรการทำแผนที่นั้นต้องทำให้มีความ
สอดคล้องและสัมพันธ์กัน เป็นต้น
3) พิจารณาภาพรวม กำหนดขอบเขตพื้นที่ และพิจารณาจุดเริ่มต้น
ในการทำแผนที่แผนผัง เช่น ถ้าเป็นห้อง ผู้วาดแผนที่แผนผังจะต้องยืนระหว่างกึ่งกลาง
ประตู เพื่อให้เห็นบริเวณพื้นที่ทั้งหมดภายในห้อง
4) สำหรับการวัด ควรใช้อุปกรณ์การวัดที่เป็นเทปโลหะ ไม่มีการยืดตัว
และไม่ควรใช้การคำนวณระยะเอง ระหว่างการวัดต้องไม่เคลื่อนย้ายวัตถุพยาน หรือสิ่งใด ๆ
ภายในสถานที่เกิดเหตุ
5) ต้องทำการสังเกตเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป เพื่อจดจำรายละเอียดให้ได้มากที่สุด
6) ในการทำแผนผังและแผนที่ ถ้ามีบริเวณที่ใหญ่เกินไป อาจต้องมีการแยกส่วนกัน
เชน ภายนอกอาคาร และภายในอาคาร แต่อย่างไรการทำแผนที่นั้นต้องทำให้
่
มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน เป็นต้น
7) พิจารณาภาพรวม กำหนดขอบเขตพื้นที่ และพิจารณาจุดเริ่มต้น
ในการทำแผนที่แผนผัง เช่น ถ้าเป็นห้อง ผู้วาดแผนที่แผนผังจะต้องยืนระหว่างกึ่งกลาง
ประตู เพื่อให้เห็นบริเวณพื้นที่ทั้งหมดภายในห้อง
24 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน