Page 40 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 40
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
์
ั
็
ิ
8) การตรวจเก็บวัตถุพยานแต่ละประเภทต้องดำเนินการตามหลักวิชาการ
9) เก็บตัวอย่างวัตถุพยานให้ได้มากที่สุด และทำการแยกบรรจุหีบห่อ
10) การเก็บวัตถุพยาน ต้องจับบริเวณที่เล็กที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบกับ
วัตถุพยาน
11) การจับวัตถุพยานขนาดเล็ก ต้องใช้คีมในการจับแล้วทำการบรรจุ
ลงในถุงหรือกล่องตามหลักการทางวิชาการ เพื่อรักษาคุณค่าของวัตถุพยาน
12) ทำตำหนิสัญลักษณ์ของวัตถุ เพื่อระบุว่าวัตถุพยานชิ้นดังกล่าว
ี่
เป็นวัตถุพยานที่พบในสถานทเกิดเหตุนั้นจริง
13) การเก็บรวบรวมและการบรรจุหีบห่อ เจ้าหน้าที่ที่ทำการเก็บวัตถุ
พยานควรเลือกชนิดของหีบห่อให้เหมาะสม บรรจุในภาชนะที่สะอาด มีขนาดพอเหมาะกับ
ขนาดของวัตถุพยาน เช่น อาวุธปืนควรเก็บใส่กล่องกระดาษ แล้วปิดผนึก พร้อมบันทึก
ชื่อผู้ปิดผนึก ผู้เก็บวัตถุพยาน วันที่เก็บ สถานที่เกิดเหตุ ชนิดคดี ลักษณะ ตำแหน่งที่พบ
และรายละเอียดอื่น ๆ ให้ชัดเจนครบถ้วน
สำหรับการตรวจเก็บวัตถุพยาน เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการตรวจเก็บ
วัตถุพยานจะต้องมีแบบฟอร์ม เพื่อทำการจดบันทึกและส่งมอบวัตถุพยานที่มีรายละเอียด
เกี่ยวกับคดี สถานที่เกิดเหตุ รายการวัตถุที่ตรวจพบ วัน เวลา ชื่อผู้เสียหาย ผู้เสียชีวิต
และมอบให้แก่พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีเพื่อดำเนินการต่อไป
ขั้นตอนที่ 11 การตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Conduct Final Survey)
สำรวจพื้นที่ ชี้แจงรายการวัตถุ ถ่ายภาพสภาพ ตรวจสอบ
ในแต่ละส่วน พยานทั้งหมดที่ ที่เกิดเหตุ รายงานและ
อย่างละเอียด ตรวจเก็บ ข้อมูลต่าง ๆ
แผนภาพที่ 11 ขั้นตอนการตรวจสอบขั้นสุดท้าย (Conduct Final Survey)
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 39