Page 39 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 39

ั
                                                                ์
                                                                    ็
                                                          ิ
                    โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
                                       ั
                         ิ
           คำอธิบายขั้นตอนการบันทึกและตรวจเก็บพยานหลักฐาน  (Record and  Collect
           Physical Evidence) มีรายละเอียดดังนี้
                     สำหรับการเก็บวัตถุพยานนั้น ผู้กระทำต้องมีอำนาจทางกฎหมาย จึงจะถือว่า
           เป็นวัตถุพยานที่ยอมรับได้ และสามารถนำไปประกอบการพิจารณาคดีได้ ซึ่งการตรวจเก็บ
           วัตถุพยานนั้นต้องเก็บด้วยวิธีที่เหมาะสม พร้อมบันทึกการเก็บวัตถุพยาน ต้องมีการจด
                                                         ่
           บันทึกระบุรายละเอียดของวัตถุพยานนั้น ๆ ให้ชัดเจน เชน สภาพของวัตถุพยาน
           เป็นอย่างไร ทำสัญลักษณ์หรือตำหนิไว้ตรงไหน และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การแสดงให้เห็นถึง
           การครอบครองวัตถุพยานโดยตลอดกระบวนการ การบันทึกและตรวจเก็บพยานหลักฐาน
           มีหลักสำคัญ ดังนี้

                      1)  เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมสมุดจดบันทึก หรือแบบฟอร์ม ตารางการบันทึก
           และการเก็บวัตถุพยาน เพื่อทำการจดระบุรายละเอียดของวัตถุพยานนั้น ๆ ให้ชัดเจน เชน
                                                                          ่
           สภาพของวัตถุพยานเป็นอย่างไร ทำสัญลักษณ์หรือตำหนิไว้ตรงไหน

                      2)  บันทึกตำแหน่งของสภาพวัตถุพยานอย่างละเอียด และทำการถ่ายภาพ
           ที่แสดงถึงตำแหน่งของวัตถุพยานที่พบ และต้องแสดงถึงความสัมพันธ์ของวัตถุพยานนั้น
           กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ก่อนการจัดเก็บวัตถุพยาน
                      3)  ทำการถ่ายภาพวัตถุพยานในระยะใกล้ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของของ

           วัตถุพยาน และในการถ่ายภาพระยะใกล้ทุกครั้งต้องมีมาตราส่วนกำกับ เพื่อให้ทราบถึงขนาด
           ของวัตถุพยาน
                      4)  การระบุตำแหน่งควรใช้วิธีวัดจากจุดอ้างอิงที่เคลื่อนไม่ได้ไปหา

           วัตถุพยาน
                      5)  เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการเก็บวัตถุพยานควรหลีกเลี่ยงและต้องไม่
           สัมผัสกับวัตถุพยานนั้นโดยตรง
                      6)  ควรทำการใส่ถุงมือ ชุดคลุม หมวก ถุงคลุมเท้า อุปกรณ์ป้องกัน

           ขณะทำการจับหรือเก็บวัตถุพยาน
                      7)  จดบันทึกสภาพวัตถุพยาน เช่น ขนาดเท่าไร ลักษณะอย่างไร มีจุดพิเศษ
           อย่างไร



           38          คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44