Page 36 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 36
์
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
็
ั
ิ
ิ
7) การค้นหาบริเวณพื้นที่ป่ารก หรือสถานที่ที่ไม่เหมาะกับการค้นเพียง
ครั้งเดียว ให้ทำการค้นหาแบบแถวหน้ากระดานประยุกต์ (Applied Strip Method /
Grid Method) โดยเดินเป็นตารางขวางกับแนวแรก วิธีนี้จะทำให้สามารถค้นวัตถุพยาน
ได้รายละเอียดมากขึ้น และมีโอกาสพบวัตถุพยานได้มากขึ้น ดังภาพที่ 12 (b)
8) กรณีที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ให้ทำการค้นหาด้วยวิธีแบ่งพื้นที่
ี่
แบบโซน (Zone Method) โดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ดังภาพท 12 (c)
9) การค้นหาวัตถุพยานภายในห้องหรืออาคาร ให้ทำการค้นหา
โดยใช้วิธีการเดินแบบวงกลมหรือกนหอย (Spiral Method) โดยเดินจากเส้นรอบนอกเข้า
้
ี่
สู่จุดศูนย์กลาง เพื่อไม่ทำให้วัตถุพยานนั้นเสียหาย ดังภาพท 12 (d)
10) การค้นหาวัตถุพยานในยานพาหนะ ควรแบ่งเป็นพื้นที่บริเวณรอบ ๆ
ที่ยานพาหนะจอดอยู่ โดยวัตถุพยานที่สำคัญได้แก่ รอยเท้า รอยยางรถ อาวุธ รอยเลือด
ยานพาหนะด้านนอก เพื่อค้นหารอยลายนิ้วมือของคนร้าย และการค้นหาภายในรถ
แบ่งเป็นบริเวณตอนหน้าและตอนหลัง ทำการค้นหาตั้งแต่เพดานรถ จรดพื้น
ลิ้นชัก คอนโซล ใต้เบาะ ประตู เป็นต้น
11) เมื่อพบวัตถุพยาน ต้องดำเนินการจดบันทึก ถ่ายภาพ ทำตำหนิ
ที่ไม่ส่งผลต่อการตรวจพิสูจน์และทำการเก็บบรรจุให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 35