Page 35 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 35
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
็
ิ
์
ั
ั
ิ
คำอธิบายขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียด (Conduct Detailed
Search) มีรายละเอียดดังนี้
เมื่อดำเนินการบันทึก วาดแผนที่แผนผังของสถานที่เกิดเหตุเรียบร้อยแล้ว
ต่อมาเป็นขั้นตอนของการตรวจสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียดหรือการค้นหาวัตถุพยาน
เพื่อเก็บรวบรวมมาดำเนินการตรวจพิสูจน์หาผู้กระทำความผิด หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำการค้นหาวัตถุพยาน
ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
1) พิจารณาจากวัตถุพยานที่บ่งบอกว่ามีการกระทำผิดขึ้นแล้ว
ซึ่งเป็นวัตถุพยานที่เชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น เช่น กรณีคดีฆาตกรรม ต้องพบศพ
เลือด เป็นต้น
2) พิจารณาจากวัตถุพยานที่บ่งชี้ว่าคนร้ายทำผิดโดยวิธีใด เชน
่
รอยบาดแผลที่ถูกของมีคมที่พบบนศพ บ่งบอกได้ว่าคนร้ายใช้อาวุธชนิดใดกระทำความผิด
3) พิจารณาจากวัตถุพยานที่บ่งชี้ว่าคนร้ายคือผู้ใด เช่น รอยลายนิ้วมือแฝง
เสื้อผ้าที่คนร้ายทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุ คราบเลือด ร่องรอยต่าง ๆ หรือสิ่งที่ค้นร้ายนำติดตัว
ไปด้วย เช่น รอยบาดแผลที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ งัดแงะ ขนแมว ขนสุนัข เป็นต้น
4) เจ้าหน้าที่ต้องกำหนดขอบเขตของสถานที่เกิดเหตุก่อนเสมอ
เพื่อวางแผนและพิจารณาเลือกใช้วิธีค้นที่ถูกวิธีตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของ
ี่
สถานทเกิดเหตุ
5) เจ้าหน้าที่ต้องไม่มองข้ามรายละเอียดเล็กน้อย ให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า
ทุกอย่างในที่เกิดเหตุเป็นวัตถุพยาน
6) การค้นหาบริเวณที่กว้าง กลางแจ้ง ให้ทำการค้นแบบหน้ากระดาน
(Strip Method) โดยการเดินเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานจากจุดเริ่มต้นขนานไปกับพื้นที่
แล้วเลี้ยวกลับ ดังภาพที่ 12 (a)
34 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน