Page 77 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 77
ิ
ิ
ั
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
์
็
การตรวจพิสูจน์ในคดีฆ่าข่มขืน
การตรวจศพที่ถูกฆ่าข่มขืนต้องดำเนินการตั้งแต่ที่เกิดเหตุ ควรจับต้องตัวศพให้
น้อยที่สุด โดยนำถุงกระดาษใส่มือศพทั้งสองข้างและร่างของศพควรใส่ถุงบรรจุศพไว้เป็น
อย่างดี เพื่อป้องกันวัตถุพยานหล่นหาย เมื่อมาถึงสถานที่ตรวจศพแล้ว ห้ามเจ้าหน้าที่
ถอดเสื้อผ้าศพ หรือ พิมพ์ลายนิ้วมือศพ ก่อนที่แพทย์จะทำการผ่าศพ
การผ่าศพ แพทย์จะตรวจเสื้อผ้าก่อน เพื่อดูว่ามีสิ่งใดติดมากับเสื้อผ้า
หรือไม่ เช่น เส้นผม เศษกระจก เศษสี ดินโคลน เป็นต้น บันทึกส่วนของเสื้อผ้าที่ฉีกขาดว่า
เข้าได้กับบาดแผลที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร อธิบายได้ว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นเกิดในขณะที่
ยังสวมเสื้อผ้าอยู่หรือไม่ โดยแพทย์จะบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่เก็บได้จากเสื้อผ้าลงในถุงพลาสติก
ซึ่งแยกเป็นถุงแต่ละถุง เช่น เศษเส้นผม จากไหล่เสื้อข้างขวาของศพ นามบัตรเก็บจาก
กระเป๋ากางเกงด้านขวา กระดุมหนึ่งเม็ดจากกำมือข้างขวา เป็นต้น
จากนั้นตรวจร่างกายภายนอกโดยละเอียด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า บันทึก
บาดแผลต่าง ๆ และควรสังเกตร่องรอยการใช้ฟันกัดบนลำตัวศพ ซึ่งอาจใช้เป็น
เครื่องตรวจสอบกับพิมพ์ฟันของผู้ต้องสงสัยได้
ตัดเล็บเพื่อตรวจเนื้อเยื่อ เก็บขนหัวเหน่าที่แปลกปลอม เก็บเส้นผม
ขนหัวเหน่า เลือดปัสสาวะของศพเพื่อตรวจการวางยา ตรวจหมู่เลือด และ DNA
เก็บตัวอย่างจากช่องคลอด อาจจะตรวจอสุจิมีชีวิต (ถ้าเหตุเพิ่งเกิดขึ้น) โดยใส่บนกระจก
แล้วหยดน้ำเกลือ ตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ อาจจะพบตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวอยู่ได้ ใชไม้พัน
้
สำลีป้ายจากช่องคลอดแล้วป้ายบนกระจกสองแผ่น ใช้ไม้พันสำลีป้ายในช่องคลอด
อีกสองอัน โดยควรทิ้งให้แห้งแล้วใส่ถุงกระดาษแข็ง ไม่ควรใส่ในหลอดแก้ว) ป้ายจากทวาร
หนักและช่องปากอีก อย่างละ 2 อัน ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำเกลือ พร้อมทั้งตรวจสอบ
เช็ดตามส่วนของร่างกายที่สงสัยว่ามีคราบอสุจิเก็บแยกส่วนไว้
76 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน