Page 75 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 75
ิ
ิ
ั
ั
็
์
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 ในกรณีที่
จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ให้พนักงานสอบสวน
มีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้
คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ มีขั้นตอนที่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง และจะออกนอก
ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้เลย ในการเก็บหลักฐานที่เกิดเหตุเบื้องต้น หากในกรณีที่
เหตุเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเป็นเด็กส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะมาร้องทุกข์หลังจากเหตุเกิดขึ้นผ่านไป
หลายวันแล้ว พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบถามเบื้องต้นจากผู้ร้องทุกข์ก่อน
เพื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเช่นใด สถานที่เกิดเหตุ
มีลักษณะเช่นใด บริเวณที่เกิดเหตุมีกล้องวงจรและมีพยานบุคคลหรือไม่ เป็นต้น
เพื่อหารายละเอียดการกระทำความผิดและหาพยานหลักฐานที่จะต้องนำส่งไปตรวจ
ในบางกรณีผู้เสียหายส่วนใหญ่จะชำระร่างกายจนบางครั้งทำให้สารคัดหลั่งหมดไป
ไม่สามารถนำมาตรวจสอบเชื่อมโยงไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดได้ จากการรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์วัตถุพยานเมื่อเข้าสถานที่เกิดเหตุในคดีเกี่ยวกับเพศ สรุปดังนี้
ข้อสังเกตในการวิเคราะห์วัตถุพยานสำหรบนำไปใช้ในการตรวจพิสูจน์
ั
ทางนิติวิทยาศาสตร ์
การตรวจพิสูจน์ในคดีข่มขืน
1) แพทย์ต้องประเมินสภาพทางจิตใจผู้เสียหาย ก่อนตรวจร่างกาย
ควรตรวจเสื้อผ้าชุดที่ใส่ในขณะเกิดเหตุ ในกรณีผู้เสียหายได้เปลี่ยนชุดแล้วควรขอชุดมา
ทำการตรวจเท่าที่จะทำได้ โดยการตรวจร่างกายผู้เสียหายทั่วไปส่วนใหญ่จะตรวจบาดแผล
ทางกาย เน้นร่องรอยที่ฝ่ามือ เล็บมือ แขน ขา และต้นขาด้านใน ซึ่งอาจเป็นหลักฐาน
แสดงการขัดขืนต่อการร่วมเพศ บาดแผลที่อวัยวะเพศอาจเป็นหลักฐานแสดง
การร่วมเพศ ขณะตรวจต้องเก็บพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น น้ำอสุจิ เส้นขน คราบอสุจิ
ซึ่งในกรณีนี้การตรวจเสื้อผ้าอย่างละเอียดจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะอาจพบคราบอสุจิ
หรือเศษเส้นผม เส้นขนติดอยู่ หรืออาจพบหลักฐานอื่น ๆ ที่อาจใช้ในการพิสูจน์
ตัวผู้กระทำผิด การตรวจเสื้อผ้าอาจให้ประโยชน์ในกรณีที่กระดุมมีการฉีกขาดหรือหายไป
74 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน