Page 181 - หนังสือเรียน ภาษาไทย พท.21001
P. 181
ห น า | 181
เรื่องที่ 1 หลักการพิจารณาวรรณคดีและหลักการพินิจวรรณกรรม
กอนที่จะศึกษาถึงเรื่องการพิจารณาวรรณคดีและการพินิจวรรณกรรม ตองทําความเขาใจกับ
ความหมายของคําวา วรรณคดี และ วรรณกรรม เพื่อใหนักศึกษาสามารถเขาใจในความหมายของ
คําทั้งสองนี้ ไดอยางชัดเจนโดย ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2514: 58-133) ไดกลาวถึง
ความสัมพันธและความแตกตางระหวางวรรณคดีและวรรณกรรมไวดังนี้
วรรณคดี ใชในความหมายวา วรรณกรรมหรือหนังสือที่ไดรับการยกยองวาแตงดี มีวรรณกรรมศิลป
กลาวคือมีลักษณะเดนในการใชถอยคําภาษาและเดนในการประพันธ ใหคุณคาทางอารมณและ
ความรูสึกแกผูอานสามารถใชเปนแบบฉบับอางอิงได
หนังสือที่เปนวรรณคดีสามารถบงบอกลักษณะไดดังนี้
1. มีเนื้อหาดี มีประโยชนและเปนสุภาษิต
2. มีศิลปะการแตงที่ยอดเยี่ยมทั้งดานศิลปะการใชคํา การใชโวหารและถูกตองตามหลัก
ไวยากรณ
3. เปนหนังสือที่ไดรับความนิยมและสืบทอดกันมายาวนานกวา 100 ป
วรรณกรรม ใชในความหมายวา งานหนังสือ งานนิพนธที่ทําขึ้นทุกชนิด ไมวาแสดงออกมาโดยวิธี
หรือในรูปอยางใด เชน หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ ปาฐกถา เทศนา คําปราศรัย สุนทร
พจน สิ่งบันทึก เสียง ภาพ
วรรณกรรมแบงออกเปน 2 ประเภท
1. สารคดี หมายถึง หนังสือที่แตงขึ้นเพื่อใหความรู ความคิด ประสบการณแกผูอานซึ่ง
อาจใชรูปแบบรอยแกวหรือรอยกรองก็ได
2. บันเทิงคดี คือ วรรณกรรมที่แตงขึ้นเพื่อมุงใหความเพลิดเพลิน สนุกสนาน บันเทิงแก
ผูอานจึงมักเปนเรื่องที่มีเหตุการณและตัวละคร
การพินิจหรือการพิจารณาคุณคาของวรรณคดีหรือวรรณกรรม ไมวาจะเปนรอยแกวหรือรอย
กรองมีหลักการพิจารณากวางๆ คลายกันคือ เราอาจจะตั้งคําถามงายๆ วางานประพันธชิ้นนั้นหรือ
เรื่องนั้นใหอะไรแกคนอานบาง
ความหมาย
การพินิจ คือการพิจารณาตรวจตรา พรอมทั้งวิเคราะหแยกแยะและประเมินคาได ทั้งนี้
นอกจากจะไดประโยชนตอตนเองแลว ยังมีจุดประสงคเพื่อนําไปแสดงความคิดเห็นและขอเท็จจริงให