Page 185 - หนังสือเรียน ภาษาไทย พท.21001
P. 185

ห น า  | 185



                           “เจางามปลอดยอดรักของพลายแกว       ไดมาแลวแมอยาขับใหกลับหนี
                           พี่สูตายไมเสียดายแกชีวี          แกวพี่อยาไดพร่ํารําพันความ

                           พี่ผิดพี่ก็มาลุแกโทษ               จงคลายโกรธแมอยาถือวาหยาบหยาม

                           พี่ชมโฉมโลมลูบดวยใจงาม             ทรามสวาทดิ้นไปไมไยดี”
                         3.  พิโรธวาทัง  เปนบทโกรธ  บทตัดพอตอวา  เหน็บแนม  เสียดสี  หรือแสดง

                           ความเคียดแคน  เชน

                           ผันพระกายกระทืบพระบาทและอึง         พระศัพทสีหนาทพึงสยองภัย

                           เอออุเหมนะมึงชิชางกระไร           ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉนก็มาเปน


                         4.  สัลลาปงคพิสัย เปนบทแสดงความโศกเศรา  คร่ําครวญ  อาลัยอาวรณ  เชน

                           เคยหมอบใกลไดกลิ่นสุคนธตลบ      ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
                           สิ้นแผนดินสิ้นรสสุคนธา           วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ

                                                                    (สุนทรภู)

                  หลักการและแนวทางการพิจารณาวรรณคดี


                         การพิจารณาวรรณคดี  คือการแสดงขอคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีเลมใดเลมหนึ่งอยางสั้นๆ โดย

                  มีเจตนาจะแนะนําวรรณคดีนั้นใหผูอานรูจักวามีเนื้อเรื่องอยางไร    มีประโยชนมีคุณคาอยางไร   ผู

                  พิจารณามีความคิดเห็นอยางไรตอวรรณคดีเรื่องนั้นๆ  ชอบหรือไมชอบ  เพราะเหตุใด  มีลักษณะการ
                  วิจารณวรรณกรรม

                         หลักการพิจารณาวรรณคดี

                         1.  แยกองคประกอบของหนังสือหรือวรรณคดีที่จะวิจารณใหได

                         2.  ทําความเขาใจองคประกอบที่แยกออกมาใหแจมแจงชัดเจน
                         3.  พิจารณาหรือวิเคราะหหนังสือหรือวรรณคดีตามหัวขอตอไปนี้

                           3.1  ประวัติความเปนมาและประวัติผูแตง

                           3.2  ลักษณะการประพันธ

                           3.3  เรื่องยอ
                           3.4  การวิเคราะหเรื่อง

                           3.5  แนวคิดและจุดมุงหมายในการแตง

                           3.6  คุณคาดานตางๆ
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190