Page 189 - หนังสือเรียน ภาษาไทย พท.21001
P. 189

ห น า  | 189



                         7.  เนื้อเรื่องที่รับมาจากวรรณกรรมตางชาติจะไดรับการดัดแปลงใหเขากับวัฒนธรรมไทย
                         8.  ในวรรณคดีไทยมีลักษณะเปนวรรณคดีสําหรับอาน  เนื่องจากมีการพรรณนาความยืดยาว

                  ใหรายละเอียดตางๆ เพื่อใหผูอานไดภาพชัดเจน  เนนความไพเราะของคําดังนั้นเมื่อจะนําไปใชเปน

                  บทแสดงจะตองปรับเปลี่ยนเสียใหมเพื่อใหกระชับขึ้น
                         9.  ในวรรณคดีไทยมีบทอัศจรรยแทรกอยูดวย   เรื่องของความรักและเพศสัมพันธเปน

                  ธรรมชาติอยางหนึ่งของมนุษย   กวีไทยไมนิยมกลาวตรงไปตรงมา   แตจะกลาวถึงโดยใชกลวิธีการ

                  เปรียบเทียบหรือใชสัญลักษณแทน  เพื่อใหเปนงานทางศิลปะมิใชอนาจาร

                         10. วรรณคดีไทยมักแทรกความเชื่อคานิยมของไทยไวเสมอ
                         ลักษณะตางๆ  ดังกลาวมาขางตน  นับเปนลักษณะเดนของวรรณคดีไทย    ซึ่งนักศึกษาควร

                  เรียนรูและเขาใจเพื่อจะอานวรรณคดีไทยไดอยางซาบซึ้งตอไป



                  การอานวรรณคดีเพื่อพิจารณาคุณคาดานวรรณศิลป


                         วรรณศิลป  มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  2542  วา  ศิลปะใน

                  การแตงหนังสือ  ศิลปะทางวรรณกรรม วรรณกรรมที่ถึงขั้นวรรณคดี  หนังสือที่ไดรับการยกยองวา
                  แตงดี

                         จากความหมายนี้   การพิจารณาคุณคาดานวรรณศิลปตองศึกษาตั้งแตการเลือกชนิดคํา

                  ประพันธใหเหมาะสมกับประเภทงานเขียน  ถูกตองตรงความหมาย  เหมาะกับบุคคลหรือตัวละครใน

                  เรื่องและรสวรรณคดีการรูจักตกแตงถอยคําใหไพเราะสละสลวยอันเปนลักษณะเฉพาะภาษากวี  และ
                  ทําใหผูอานเกิดความสะเทือนอารมณ

                         ภาษากวีเพื่อสรางความงดงามไพเราะแกบทรอยแกวรอยกรองนั้น   มีหลักสําคัญที่เกี่ยวของ

                  กัน 3 ดาน  ดังนี้

                         1.  การสรรคํา
                         2.  การเรียบเรียงคํา

                         3.  การใชโวหาร

                         การสรรคํา   คือการเลือกใชคําใหสื่อความคิด    ความเขาใจ   ความรูสึกและอารมณไดอยาง
                  งดงามโดยคํานึงถึงความงามดานเสียง  โวหาร  และรูปแบบคําประพันธ  กรสรรคําทําไดดังนี้

                         การเลือกคําใหเหมาะแกเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง

                         การใชคําใหถูกตองตรงตามความหมาย
                         การเลือกใชคําพองเสียง  คําซ้ํา

                         การเลือกใชคําโดยคํานึงถึงเสียงสัมผัส
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194