Page 194 - หนังสือเรียน ภาษาไทย พท.21001
P. 194
194 | ห น า
เรื่องที่ 3 เพลงพื้นบาน เพลงกลอมเด็ก
ความหมายของเพลงพื้นบาน
คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในทองถิ่นตางๆ คิดรูปแบบการรอง การเลนขึ้น เปนบทเพลงทีมี
ทวงทํานอง ภาษาเรียบงายไมซับซอน มุงความสนุกสนานรื่นเริง ใชเลนกันในโอกาสตางๆ เชน
สงกรานต ตรุษจีน ลอยกระทง ไหวพระประจําป หรือแมกระทั่งในโอกาสที่ไดมาชวยกันทํางาน
รวมมือรวมใจเพื่อทํางานอยางหนึ่งอยางใด เชน เกี่ยวขาว นวดขาว เปนตน
ประวัติความเปนมาของเพลงพื้นบาน
เพลงพื้นบานในประเทศไทยมีมาแตโบราณไมปรากฏหลักฐานแนชัดวา มีขึ้นในสมัยใด เปน
สิ่งที่เกิดขึ้นเปนปกติวิสัยของคนในสังคมจึงมีผูเรียกวา เพลงพื้นบาน เปนเพลงนอกศตวรรษเปนเพลง
นอกทําเนียบบาง เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร วรรณคดี และความรูทุกแขนงในประเทศไทย
ไมไดอางถึง หลักฐานเกี่ยวกับการเลนเพลงพื้นบานมีปรากฏในสมัยอยุธยา ซึ่งที่พบคือเพลงเรือ
เพลงเทพทอง สวนในสมัยรัตนโกสินทร มีชื่อเพลงพื้นบานปรากฏอยูในจารึกวัดโพธิ์และใน
วรรณคดีตางๆ สมัยตนรัตนโกสินทรที่ปรากฏชื่อคือ เพลงปรบไก เพลงเรือ เพลงสักวา แอวลาว
ไกปา เกี่ยวขาว ตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 5 เปนตนมา ปรากฏหลักฐานแนชัดวามีการเลนเพลงเรือสักวา
เพลงพื้นบานของไทยเรานั้นมีมาแตชานานแลว ถายทอดกันโดยทางมุขปาฐะ จําตอๆ กันมาหลายชั่ว
อายุคน เชื่อกันวามีกําเนิดกอนศิลาจารึกพอขุนรามคําแหงมหาราชเสียอีก ตอมาคอยมีชื่อเสียง มีแบบ
สัมผัสคลองจองทวงทํานองไปตามภาษาถิ่นนั้นๆ ในการขับรองเพื่อความบันเทิงตางๆ จะมีจังหวะ
ดนตรีทองถิ่นเขามาและมีการรองรําทําเพลงไปดวย จึงเกิดเปนระบําชาวบาน เพลงพื้นบานใชรองรํา
ในงานบันเทิงตางๆ มีงานลงแขก เกี่ยวขาว ตรุษสงกรานต
ตอมาในสมัยรัตนโกสินทร เปนสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงพื้นบานชนิดตางๆ มากที่สุด
ตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เปน ยุคทอง ของเพลงพื้นบานที่เปนเพลงปฏิพากย รองโตตอบ
กัน เชน เพลงฉอย เพลงอีแซว เพลงสงเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง หลังรัชกาลที่ 5 อิทธิพล
วัฒนธรรมตะวันตกทําใหเกิดเพลงไทยสากลขึ้น เพลงพื้นบานจึงเริ่มหมดความนิยมลงทีละนอยๆ
ปจจุบันเพลงพื้นบานไดรับการฟนฟูบางจากหนวยงานที่เห็นคุณคา แตก็เปนในรูปของการอนุรักษไว
เทานั้น ปญหาเนื่องจากมาขาดผูสนใจสืบทอดเพลงพื้นบานจึงเสื่อมสูญไปพรอมๆ กับผูเลน