Page 83 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 83

74


                       การเขียนประกาศ

                       ประกาศ หมายถึง การบอกกลาว หรือชี้แจงเรื่องราวตาง ๆ ใหสาธารณชน หรือผูเกี่ยวของทราบ
               ผูรับขอมูลไดทราบจากสื่อมวลชนตาง ๆ เชน วิทยุ โทรทัศน หนังสือพิมพ หรือจากฝายโฆษณาใบปลิว เปนตน

                       ลักษณะของประกาศที่ผูเขียนจะไดพบเสมอ ๆ แบงไดเปน 2 แบบ คือ

                       1. แบบประกาศที่เปนทางการ  ประกาศลักษณะนี้มักออกจากหนวยงานราชการรัฐวิสาหกิจ
               หรือองคกรตาง ๆ สวนมากจะเปนเรื่องเกี่ยวกับกลุมคนสวนใหญ รูปแบบการเขียนมักจะมีประเด็นสําคัญ

               ดังนี้ คือ

                         1.1  ชื่อหนวยงานหรือองคกรที่ออกประกาศ
                         1.2  เรื่องที่ประกาศ

                         1.3  เนื้อความที่ประกาศ สวนใหญจะมีรายละเอียดอยางนอย 2 สวนคือ
                               1.3.1  เหตุผลความเปนมา

                               1.3.2  รายละเอียด เงื่อนไข และขอเสนอแนะตาง ๆ

                         1.4  วันเดือนปที่ประกาศนั้นจะมีผลบังคับใชนับตั้งแตเวลาที่ปรากฏในประกาศ
                               1.4.1  การลงนามผูประกาศ คือ ผูมีอํานาจในหนวยงานที่เปนเจาของประกาศนั้น

                               1.4.2  ตําแหนงของผูประกาศ
                       2. ประกาศที่ไมเปนทางการ ประกาศลักษณะนี้มักออกจากบริษัท หางราน หรือของบุคคลใด

               บุคคลหนึ่ง จะมีจุดประสงคเฉพาะเรื่อง เชน  ประกาศรับสมัครงาน ประกาศของหาย ประกาศลักษณะนี้

               จะมีเฉพาะขอมูลที่จําเปน  ทั้งนี้ สวนใหญจะเปนการประกาศในหนาหนังสือพิมพซึ่งตองประหยัดเนื้อที่
               โฆษณา เนื่องจากคาโฆษณามีราคาสูง


                       การเขียนโฆษณา

                       การโฆษณาสินคาบริการเปนการสงสารโนมนาวใจตอสาธารณชน เพื่อประโยชนในการขายสินคา

               หรือบริการตาง ๆ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
                       1. บทโฆษณาจะมีสวนนําที่สะดุดหู สะดุดตา ซึ่งมีผลทําใหสะดุดใจสาธารณชน ดวยการใชถอยคํา

               แปลก ๆ ใหม ๆ อาจเปนคําสัมผัสอักษร คําเลียนเสียงธรรมชาติ

                       2.  ไมใชถอยคําที่ยืดยาว ครอบคลุมเนื้อหาอยางครบถวน มักใชเปนรูปประโยคสั้น ๆ หรือวลีสั้น ๆ
               ทําใหผูอานรับรูไดอยางฉับพลัน

                       3. เนื้อหาจะชี้ใหเห็นถึงความดี  วิเศษของคุณภาพ  ของสินคาหรือบริการ  สวนมากจะเนน
               ความเปนจริง เชน “ทนทานปานเหล็กเพชร”

                       4. ผูโฆษณาจะพยายามจับจุดออนของมนุษย โดยจะโนมนาวใจในทํานองที่วาถาใชเครื่องสําอางค
               ชนิดนี้แลว ผิวพรรณจะเปลงปลั่งบาง เรือนรางจะสวยมีเสนหบาง

                       5. เนื้อหาการโฆษณา มักขาดเหตุผล ขาดความถูกตองทางวิชาการ

                       6. การโฆษณาจะปรากฏทางสื่อชนิดตาง ๆ ซ้ํา ๆ กันหลายครั้งหลายหน
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88