Page 108 - คมองานบรหาร_Neat
P. 108
104
จะเห็นได้ว่าสายตรวจมีเวลาเพียงเสี้ยววินาทีในการปฏิบัติงานต่าง ๆ อันมีผลหมายถึงความเป็น
ความตายตามมา ถ้าการตัดสินใจผิดพลาดผลเป็นอย่างไร ผู้บริหารคงได้พบกับตัวเองมาแล้วว่าหลายๆครั้ง
มีเรื่องร้องเรียน มีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการท างานของสายตรวจ ณ จุดเกิดเหตุ ผู้บริหารบางนายก็มักโทษ
ว่าเป็นความบกพร่องของสายตรวจ และลงโทษทัณฑ์ไป หาคิดไม่ว่าเงื่อนไข ข้อจ ากัดด้านข้อมูลและ
ประสบการณ์นั่นเองที่มีผลมหาศาลต่อการตัดสินใจของสายตรวจ การลงโทษความผิดพลาดของสายตรวจที่เกิด
จากการตัดสินใจไม่ดี คงไม่ใช่ทางแก้ที่ถูกต้องและสมควร เพราะสายตรวจเองก็ไม่ได้รับการพัฒนาทักษะในด้าน
แนวคิดของการปฏิบัติแต่อย่างใด ดังนั้นกรณีเช่นนี้ผู้บริหารควรหันมาให้ความสนใจและพัฒนาปรับปรุง
ขีดความสามารถในการตัดสินใจของสายตรวจต่อกรณีเหตุเฉพาะหน้าต่าง ๆ น่าจะได้ผลมากกว่าการลงโทษที่
ไม่เหมาะสม การฝึกหัดการตัดสินใจต่อการเผชิญเหตุเฉพาะหน้านั้น เป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรของสายตรวจ
ในประเทศที่เจริญแล้วมานานแล้ว การฝึกหัดเช่นนี้การฝึกให้ต ารวจได้รู้จักใช้ความคิดแก้ปัญหาหรือ
หาวิธีด าเนินการกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าต่าง ๆ ที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นในขณะที่ออกปฏิบัติหน้าที่ เช่น พบคนร้าย
ก าลังงัดบ้าน คนร้ายจับตัวประกัน คนร้ายมีอาวุธส าคัญ คนก าลังทะเลาะวิวาทมีอาวุธ ประสบเหตุชิงทรัพย์
ปล้นทรัพย์ พบผู้เจ็บป่วยต้องการความช่วยเหลือ พบวัตถุต้องสงสัย เป็นต้น จากเหตุการณ์เหล่านี้ต ารวจ
จะฝึกหัดคิดทันทีว่า ถ้าเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์เช่นนี้ หนทางที่ดีที่สุดเขาควรจะท าได้เป็นอย่างไร เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด สายตรวจผู้ใดมีความคิดอย่างไร ก็น ามาถกเถียงเป็นกลุ่ม แล้วคัดเลือกหาทางหรือวิธีที่ดี
ที่สุดเอาไว้เป็นแนวทางหลักของสายตรวจเอง การฝึกเช่นนี้ย่อมมีผลให้สายตรวจได้มีประสบการณ์ต่อการคิด
เผชิญเหตุเบื้องต้นในหลาย ๆ รูปแบบ และมีความรู้สะสมในการแก้ปัญหา ดังนั้นหากไปประสบเหตุในพื้นที่
ก็สามารถน าเอาแนวความคิดเหล่านี้ไปช่วยในการตัดสินใจปฏิบัติ ณ จุดเกิดเหตุได้ดีกว่า ลดความเสียหาย
ความสูญเสีย ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสายตรวจและผู้เกี่ยวข้อง และสามารถจับกุมผู้กระท าผิดได้อย่าง
เหมาะสมอีกด้วย
ปัจจัยแห่งความส าเร็จของการบริหารงานสายตรวจดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมเป็นส่วนประกอบอันส าคัญ
และเป็นสิ่งที่ผู้บริหารงานสายตรวจต้องให้ความสนใจและน าไปพิจารณา น าไปใช้ควบคู่กับหลักการบริหาร
โดยทั่วไป เพื่อให้การบริหารประสบความส าเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป