Page 103 - คมองานบรหาร_Neat
P. 103

99

                                กลุ่ม 2 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ประเภทคดีที่มีสัดส่วนมากที่สุดคือ คดีลักทรัพย์ และถือเป็น

                  คดีที่มีสัดส่วนมากที่สุดในคดีทุกประเภท ดังนั้นกลุ่มคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์จึงเป็นคดีที่กระทบต่อภาพรวม
                  ทั้งหมด ผู้บริหารงานป้องกันปราบปรามจ าเป็นต้องวิเคราะห์รูปแบบของการเกิดคดีประเภทนี้ในพื้นที่

                  รับผิดชอบที่มีความแตกต่างกัน และก าหนดมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

                                กลุ่ม 3 ความผิดพิเศษ ประเภทคดีที่สัดส่วนมากที่สุด คือ คดี พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.ห้าม

                  เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

                                กลุ่ม 4 คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการจับกุมผู้กระท าผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                  คดียาเสพติด อาวุธปืน จ าหน่ายสุราฯ หากจับกุมได้มากย่อมจะส่งผลต่อการป้องกันคดีประทุษร้ายต่อชีวิต

                  ร่างกาย เพศ และทรัพย์
                         4) การวิเคราะห์สถานที่และวันเวลาที่เกิดเหตุ ผู้บริหารงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

                  มีเครื่องมือที่ใช้ส าหรับการวิเคราะห์ คือ แผนที่และนาฬิกาอาชญากรรม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการก าหนด

                  แผนการตรวจและการจัดก าลังเพื่อป้องกันเหตุ

                         ผลการวิเคราะห์ดังกล่าว ย่อมจะเป็นข้อมูลย้อนกลับให้ผู้บริหารงานป้องกันปราบปราม ได้ทราบว่า

                  สถานภาพอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบเป็นอย่างไร ผลการปฏิบัติที่ผ่านมาบรรลุผลส าเร็จตามวัตถุประสงค์
                  หรือไม่ เพียงใด รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อน ามาปรับแผนการปฏิบัติเช่น แผนการตรวจของสายตรวจ

                  ประจ าวัน แผนการตั้งจุดตรวจค้น (ว.43) แผนปฏิบัติตามภารกิจเฉพาะตามนโยบายของหน่วยแผนการตรวจ

                  สัมพันธ์ เป็นต้น


                  6. ความเชื่อมโยงของการประเมินผลงานป้องกันปราบปรามและงานสายตรวจ

                         การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารงานของป้องกันปราบปราม นอกจากด าเนินการเพื่อใช้

                  ปรับปรุงการบริหารภายในหน่วยและการให้ความดีความชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว ในปัจจุบันผล

                  การประเมินภายในหน่วยมีความเชื่อมโยงไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติด้านอื่น ๆ ดังนี้

                         6.1 การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามค ารับรองการปฏิบัติราชการประจ าปี เป็นการ

                  ประเมินผลการปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการ ซึ่งส านักงานต ารวจแห่งชาติจะท าข้อตกลงเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่
                  จะใช้ประเมินผล

                         โดยตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม มีดังนี้

                                ตัวชี้วัดเป้าหมาย

                                1) ระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้เสียหายต่อการปฏิบัติหน้าที่ของต ารวจเพิ่มขึ้น
                                2) ระดับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนลดลง

                                3) อัตราการเกิดคดีต่อประชากรแสนคน (1. กลุ่มชีวิต ร่างกายและเพศ 2. กลุ่มทรัพย์)

                                4) สถิติในการไม่แจ้งความคืบหน้าของการด าเนินคดีต่อผู้เสียหายลดลง
                                5) ประชาชนมีช่องทางในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของต ารวจเพิ่มขึ้น
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108