Page 102 - คมองานบรหาร_Neat
P. 102
98
5. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
การประเมินผลการปฏิบัติงานจ าเป็นต้องมีข้อมูลส าหรับผลการปฏิบัติงาน ส าหรับการประเมิน
ด้านปัจจัยน าเข้า ซึ่งเป็นการประเมินความพร้อมในการปฏิบัติงานและการประเมินด้านกระบวนการปฏิบัติงาน
จะต้องมีการจัดท าข้อมูลเป็นเอกสารเพื่อใช้ประเมินดังที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันส านักงานต ารวจแห่งชาติ
ได้ก าหนดให้มีการจัดท าเอกสารต่าง ๆ เช่น แบบรายงานผลการปฏิบัติงานของสายตรวจ สมุดควบคุม
การปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามโครงการพัฒนาสถานีต ารวจเพื่อประชาชน ได้ก าหนดแนว
ทางการพัฒนางานด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไว้โดยละเอียดพร้อมก าหนดหัวข้อ
การประเมินไว้แล้ว
ส าหรับการประเมินด้านผลผลิต จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติคดีอาญา เพื่อน ามาเปรียบเทียบ
การเพิ่ม-ลดของคดี สัดส่วนร้อยละของคดีที่จับกุมได้ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ได้ก าหนดให้มีการจัดเก็บข้อมูล
ดังกล่าวผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกโดยย่อว่าระบบ CRIMES เมื่อเก็บรวบรวมสถิติคดีอาญาไว้แล้ว ผู้บริหาร
งานป้องกันปราบปราม จ าเป็นต้องน าข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และตีความจากตัวเลขให้เห็นสถานภาพ
ของอาชญากรรมในพื้นที่ การวิเคราะห์อาจด าเนินการได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ
1) การเปรียบเทียบด้วยช่วงเวลาต่อเนื่อง เป็นการเปรียบเทียบคดีที่เกิดขึ้น หรือเปรียบเทียบสัดส่วน
คดีที่เกิดและจับกุมได้ในห้วงเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกับห้วงเวลาเท่ากันก่อนหน้านี้ เช่น เปรียบเทียบห้วงเดือนนี้
กับเดือนที่ผ่านมา ไตรมาสนี้ กับไตรมาสที่ผ่านมา สัปดาห์นี้กับสัปดาห์ที่แล้ว เป็นต้น การเปรียบลักษณะนี้มี
ประโยชน์ส าหรับผู้บริหารงานป้องกันปราบปรามเพื่อใช้ก ากับและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ
ต ารวจในสังกัด ให้เห็นความต่อเนื่องในการควบคุมอาชญากรรม
2) การเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาในปัจจุบัน กับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา เช่น เปรียบเทียบ
เดือนมกราคม พ.ศ.2561 กับเดือนมกราคม พ.ศ.2560 แนวโน้มของสถิติคดีอาญาจะมีรูปแบบที่เป็นไปตาม
แต่ละห้วงเวลาในรอบปี หรืออาจเรียกว่าเป็นฤดูกาล อันเนื่องมาจากปัจจัยที่ท าให้เกิดคดีแตกต่างกันไปในแต่ละ
ห้วงเวลาในรอบปี เช่น ภูมิอากาศตามฤดูกาลที่ส่งผลต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพอื่น ๆ
การเปิด-ปิดภาคการศึกษา เทศกาลส าคัญในรอบปี เป็นต้น
3) การวิเคราะห์ประเภทคดี ข้อมูลสถิติคดีอาญาที่รวบรวมไว้แล้ว ผู้บริหารงานป้องกันปราบปราม
จ าเป็นต้องน ามาวิเคราะห์และประเมินผลออกมา เพื่อให้เห็นสถานภาพอาชญากรรมในพื้นที่ โดยข้อมูลแต่ละ
ประเภทจะบ่งบอกถึงสถานภาพอาชญากรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น
กลุ่ม 1 ความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ คดีในกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นคดีที่มีสัดส่วน
มากที่สุดคือคดีท าร้ายร่างกาย และคดีข่มขืน ดังนั้น หากมีคดีท าร้ายร่างกายเกิดขึ้นมากย่อมจะกระทบต่อ
สถานภาพอาชญากรรมในภาพรวม ผู้บริหารงานป้องกันปราบปราม จึงจ าเป็นต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิด
ของคดีดังกล่าว และก าหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น การตีวงสุรา การกวดขัน
สถานบริการ ร้านข้าวต้ม แหล่งชุมชน เป็นต้น