Page 100 - คมองานบรหาร_Neat
P. 100
96
เยี่ยมชุมชน/ประชาชนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่จะใช้สะท้อนให้ทราบถึงผลผลิต (output) ได้แก่ ข้อมูลสถิติการรับ
แจ้งความร้องทุกข์ สถิติการจับกุม จ านวนชุมชน/ประชาชนที่ได้รับการตรวจเยี่ยม เป็นต้น
ผลผลิต (output) ของงานป้องกันปราบปราม เป็นการวัดจากสถิติคดีอาญา ทั้งในด้าน
ป้องกันอาชญากรรมซึ่งวัดจากจ านวนคดีที่เกิดขึ้น ด้านการปราบปราม วัดจากจ านวนและสัดส่วนคดีที่จับกุม
ได้เปรียบเทียบกับคดีที่เกิดขึ้น หรือการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับค้างเก่า ปัจจุบัน ส านักงานต ารวจแห่งชาติ
ได้จัดกลุ่มประเภทคดีอาญาเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์อาชญากรรม แบ่งคดีอาญาออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คดีที่เป็นความผิดต่อชีวิต ร่างกาย และเพศ ประกอบด้วยความผิด คือ
ฆ่าผู้อื่น(อุกฉกรรจ์) ท าร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย พยายามฆ่า ท าร้ายร่างกาย ข่มขืนกระท าช าเรา ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 คดีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ประกอบด้วยความผิด คือ ปล้นทรัพย์
(คดีอุกฉกรรจ์) ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์(ม.336) ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ ท าให้เสียทรัพย์
รับของโจร ลักพาเรียกค่าไถ่ วางเพลิง และอื่น ๆ
กลุ่มที่ 3 ฐานความผิดพิเศษ ประกอบด้วยความผิด คือ พ.ร.บ.ป้องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระท าผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.ฟอกเงิน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯลฯ
กลุ่มที่ 4 คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย ประกอบด้วยความผิด คือ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ร.บ.
การพนันฯ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ พ.ร.บ.ปราบปรามการค้าประเวณีฯ พ.ร.บ.สถานบริการฯ พ.ร.บ.สุรา ความผิด
เกี่ยวกับวัสดุ สื่อ สิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสถิติคดีอาญาดังกล่าว เป็นข้อมูลที่มีการรับแจ้งความทุกข์และ
บันทึกเข้าระบบฐานข้อมูลของส านักงานต ารวจแห่งชาติที่เรียกย่อว่า CRIMES แต่ยังมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่
ปรากฏในระบบฐานข้อมูลอันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ ผู้เสียหายไม่มาแจ้งความร้องทุกข์ พนักงาน
สอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่บันทึกข้อมูลเข้าระบบ เป็นต้น จึงอาจท าให้ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้สะท้อน
สถานภาพอาชญากรรมที่เป็นจริง ดังนั้น จึงจ าเป็นต้องน าข้อมูลจากแหล่งอื่นมาประกอบการพิจารณา
เช่น ข้อมูลการรับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ของสถานีต ารวจ หรือจากศูนย์วิทยุ 191 ข้อมูลการรับแจ้งความเป็น
หลักฐาน ข้อมูลเหตุคดีที่รับแจ้งของฝ่ายสืบสวน เป็นต้น
4.4 การประเมินผลลัพธ์ (outcome) เป็นการประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการจากการปฏิบัติงาน
ผลลัพธ์ของงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและงานสายตรวจ ก็คือ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความพึง
พอใจและความไม่หวาดกลัวภัยของประชาชน ผลผลิตของงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและงานสาย
ตรวจในด้านคดีอาญาที่รับแจ้งและจับกุมได้ บางครั้งอาจไม่ได้สะท้อนถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการในมุมมองและ
ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ ผลลัพธ์สุดท้ายที่มีจะต้องมีการประเมินผล ได้แก่
1) ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม (fear of crime) หมายถึง ความรู้สึกไม่ปลอดภัย
ความไม่มั่นคงในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของตนเอง บุคคลในครอบครัว ความกลัวจะตกเป็น
เหยื่ออาชญากรรม ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม เป็นความรู้สึกของประชาชนที่เกิดขึ้นโดยไม่จ าเป็นต้องมี
อาชญากรรมเกิดขึ้น เช่น เกิดความรู้สึกหวาดกลัวเมื่อต้องเดินกลับบ้านหรือเดินในซอยโดยล าพัง เป็นต้น ปัจจัย