Page 101 - คมองานบรหาร_Neat
P. 101

97

                  ที่ท าให้เกิดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม มีทั้งปัจจัยด้านบุคคล และสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ที่ท าให้เกิด

                  ความหวาดกลัว ในบางครั้งความหวาดกลัวภัยของประชาชนเกิดขั้นได้จากการที่ประชาชนพบเห็นความไม่เป็น
                  ระเบียบเรียบร้อย มากเท่ากับที่ประชาชนรับรู้ถึงเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

                                ประชาชนทั่วไปจะมีความหวาดกลัวต่อคนแปลกหน้าที่จะมาเตร็ดเตร่บริเวณบ้านเรือนของ

                  ตนเอง มากกว่าที่ประชาชนจะหวาดกลัวต่อตัวฆาตกรเสียอีก ความหวาดกลัวของประชาชนเกิดขึ้นโดยการพบเห็น

                  ผู้คนที่คิดว่าเขาจะเป็นภัยอันตราย เช่น คนเร่ร่อน ขอทาน คนเมา คนติดยาเสพติด กลุ่มแก๊งวัยรุ่น คนโรคจิต

                  นอกจากนี้ ยังมีความหวาดกลัวที่เกิดจากความไม่เป็นระเบียบทางกายภาพ เช่น กองขยะ อาคารร้าง ถนนที่เป็นหลุม

                  เป็นบ่อ ไฟแสงสว่างสาธารณะและหน้าต่างอาคารที่ช ารุด รถเสียที่จอดทิ้งไว้ และสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า

                  ชุมชนมีความเสื่อมโทรม
                                ในปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไม่ได้พิจารณาเฉพาะเรื่องผลการจับกุมหรือ

                  การป้องกันเหตุเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องให้ความสนใจกับความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชน

                  อีกด้วย การลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชน จึงถือเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่ประชาชนต้องการ

                  ที่ส าคัญประการหนึ่ง ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมเป็นการรับรู้และความรู้สึกของประชาชน การประเมิน

                  จ าเป็นต้องใช้การส ารวจความคิดเห็น
                                2) ความพึงพอใจ (satisfy) งานป้องกันปราบปรามและงานสายตรวจ เป็นการให้บริการ

                  สาธารณะรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ความพึงพอใจของประชาชน จึงเป็นองค์ประกอบส าคัญที่จะบ่งบอกถึงคุณภาพ

                  การให้บริการและการปฏิบัติหน้าที่ การวัดความพึงพอใจของประชาชนหลังการให้บริการ เป็นการประเมินผล

                  การปฏิบัติว่าเจ้าหน้าที่ต ารวจสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้หรือไม่ การให้บริการมี

                  ความสอดคล้องกับปัญหาที่ประชาชนประสบและต้องการให้แก้ไขหรือไม่ ในงานป้องกันปราบปราม

                  อาชญากรรม มีการวัดความพึงพอใจหลายด้าน เช่น ความพึงพอใจในคุณภาพการแก้ไขปัญหาและควบคุม
                  อาชญากรรม ความพึงพอใจของประชาชนต่อการด าเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่

                  ต ารวจ เป็นต้น

                                3) ความเชื่อมั่นของประชาชน (trust) ความเชื่อมั่นหรือไว้วางใจ เป็นความเชื่อว่าบุคคล

                  หนึ่งๆ จะสามารถท าให้เราสมหวังหรือให้การพึ่งพิงช่วยเหลือเราในเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้ หรือเป็นความเชื่อมั่น

                  ซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลสองฝ่ายที่จะกระท าตามที่ตกลงกันไว้ หรือให้สัญญากันไว้ เป็นความคาดหวังใน

                  ความสามารถของอีกฝ่ายหนึ่งว่าจะสามารถด าเนินการอย่าใดอย่างหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ ดังนั้น ความเชื่อมั่น
                  ของประชาชนต่อการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของต ารวจ ก็คือการที่ประชาชนมีความเชื่อว่าเจ้าหน้าที่

                  ต ารวจจะสามารถป้องกันเหตุอาชญากรรม ท าให้ประชาชนมีความปลอดภัย หรือสามารถช่วยเหลือประชาชน

                  หรือจับกุมคนร้ายได้เมื่อเกิดเหตุ สิ่งที่จะท าให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ต ารวจในงานป้องกัน

                  ปราบปราม ได้แก่ ความส าเร็จในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่ผ่านมาภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ

                  ความซื่อตรง ซื่อสัตย์สุจริต กระท าตามที่พูดไว้ การดูแลเอาใจใส่ เป็นต้น
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106