Page 99 - คมองานบรหาร_Neat
P. 99

95

                         การประเมินด้าน               ประเด็นการประเมิน             แหล่งข้อมูล/หลักฐาน

                   3. ผลผลิต (output)          - ผลการป้องกันอาชญากรรม          - สถิติคดีอาญา การรับแจ้ง-จับกุม
                   - เพื่อประเมินผลงานที่เกิดจาก - ผลการจับกุมผู้กระท าผิด (คดีรับ - ผลการจับกุมตามหมายจับค้าง

                   การปฏิบัติงาน               แจ้ง/จับกุมได้, หมายจับค้างเก่า)   เก่า

                                               - ระยะเวลาถึงที่เกิดเหตุ         - สถิติการเดินทางถึงที่เกิดเหตุ
                                               - จ านวนการตรวจเยี่ยมชุมชน       - ข้อมูลการตรวจเยี่ยมชุมชน

                   4. ผลลัพธ์ (outcome)        - ความพึงพอใจของประชาชน          - แบบสอบถามความคิดเห็นของ
                   - เป็นการประเมินผลประโยชน์ - ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม        ประชาชนที่มารับบริการ

                   สุดท้ายที่เกิดขึ้น          - ความสงบสุขและความเป็น          - การส ารวจความคิดเห็นจาก

                                               ระเบียบเรียบร้อยของสังคม         หน่วยงานอิสระภายนอก
                                               - ความร่วมมือของประชาชนในการ - ผลการประเมินทางวิชาการ การ

                                               ป้องกันปราบปราอาชญากรรม          วิจัยเชิงส ารวจ
                                               ฯลฯ



                  4. รูปแบบและแนวทางการการประเมิน

                         4.1 การประเมินปัจจัยน าเข้า (input) เป็นการประเมินทรัพยากรทางการบริหารที่จะใช้ใน
                  การปฏิบัติงานป้องกันอาชญากรรมและงานสายตรวจ เพื่อเป็นการประเมินความพร้อมของทรัพยากรที่ใช้

                  ด าเนินงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งก าลังพล วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลที่จ าเป็นส าหรับ

                  การปฏิบัติ ได้แก่ สถิติคดี ข้อมูลท้องถิ่น สภาพชุมชน สังคมในพื้นที่ เป็นต้น การประเมินปัจจัยน าเข้าจะช่วยให้

                  ผู้บริหารงานป้องกันปราบปรามได้ทราบถึงความพร้อมในการปฏิบัติงาน และพิจารณาแก้ไขปรับปรุง รวมทั้ง

                  การจัดสรร แสวงหาทรัพยากรทางการบริหารเพิ่มเติมให้พร้อม
                         4.2 การประเมินกระบวนการ (process) เป็นการประเมินว่าผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม

                  เจ้าหน้าที่สายตรวจ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามแผนการปฏิบัติหรือแนวทางที่ก าหนดไว้หรือไม่ เช่น การปฏิบัติตาม

                  แผนการตรวจ การตั้งจุดตรวจค้น การตรวจเยี่ยมชุมชน การปฏิบัติในการก้าวสกัดจับหรือการปฏิบัติตามแผน

                  เผชิญเหตุกรณีต่าง ๆ ที่ได้ก าหนดไว้ การประเมินกระบวนการของผู้บริหารงานป้องกันปราบปราม เป็นการ

                  ก ากับดูแล ตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สายตรวจ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติไปตาม

                  แนวทางขั้นตอน หรือแผนการปฏิบัติที่ก าหนด โดยมีวิธีการตรวจสอบได้หลายวิธี เช่น ตรวจสอบจากเอกสาร

                  สมุดตู้แดง รายงานผลการปฏิบัติ การแจ้งวิทยุสื่อสาร การเรียก ว.15 การออกตรวจสอบการปฏิบัติด้วยตนเอง
                  เป็นต้น

                         4.3 การประเมินผลผลิต (output) เป็นการประเมินว่าผู้ปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามและสายตรวจ

                  มีผลการปฏิบัติออกมาอย่างไร ผลผลิตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายตรวจ

                  เช่น ผลการจับกุมผู้ต้องหาในคดีต่าง ๆ ผลการป้องกันอาชญากรรมไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ ผลการตรวจ
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104