Page 94 - คมองานบรหาร_Neat
P. 94

90

                                                            บทที่ 6

                                                ตู้ยาม จุดรับแจ้งเหตุ จุดสกัดจับ



                         ตู้ยาม จุดรับแจ้งเหตุ จุดสกัดจับ เป็นวิธีการหนึ่งที่ต ารวจสายตรวจน ามาใช้เพื่อป้องกันและปราบปราม

                  อาชญากรรม นอกจากนี้ยังเป็นการให้บริการประชาชนที่อยู่ห่างไกลจากสถานีต ารวจด้วย การพัฒนาตู้ยาม

                  ต ารวจเกิดจากเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 มีข้าราชการต ารวจในสังกัดกองบัญชาการต ารวจนครบาลไปดูงาน

                  ด้านต ารวจที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลับมาได้น าเอาหลักการโคบัง (KOBAN) ตู้ยามต ารวจญี่ปุ่น มาเป็นแบบใน

                  การพัฒนาตู้ยามต ารวจเป็นสถานีต ารวจชุมชน (Community Police Box Compo) เช่น สถานีต ารวจชุมชน

                  สยามสแควร์ สถานีต ารวจชุมชนภาวนา เป็นต้น

                  ตู้ยาม

                         การตั้งตู้ยามนั้นจะพิจารณาตามความจ าเป็นตามความเหมาะสมของแต่ละท้องที่ โดยปกติแล้วตู้ยาม

                  ควรจะตั้งอยู่ในบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน เช่น ตลาดสด สถานีขนส่ง หรือตามหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ โดยจัด

                  เจ้าหน้าที่ประจ าตู้ยามปฏิบัติงานเป็นผลัดตลอด 24 ชั่วโมง โดยปกติแล้วควรจะมีเจ้าหน้าที่ประจ าตู้ยามผลัดละ

                  2 คนเป็นอย่างน้อย เพื่อช่วยกันรักษาความปลอดภัย และอยู่ประจ าตู้ขณะอีกคนหนึ่งออกไประงับเหตุ

                  แต่ปัจจุบันสถานีต ารวจแต่ละแห่งมักจะประสบปัญหาด้านก าลังพลจึงท าให้ไม่สามารถจัดก าลังเจ้าหน้าที่

                  ไปประจ าครบผลัดละ 2 คนได้ ส่วนใหญ่มักจะจัดเจ้าหน้าที่เพียง 1 คนปฏิบัติหน้าที่ยามตู้

                         ลักษณะโดยทั่วไปของตู้ยามต ารวจ

                         1. ตู้ยามต ารวจควรจะตั้งตามย่านชุมชนที่มีคนพลุกพล่านหรือเป็นแหล่งที่เกิดอาชญากรรมอยู่เสมอ

                  ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหตุเนื่องจากคนที่คิดจะกระท าผิดย่อมไม่อยากกระท าผิดในบริเวณที่มีตู้ยามต ารวจตั้งอยู่เป็นแน่

                  นอกจากนี้ตู้ยามต ารวจยังมีผลท าให้ประชาชนสัญจรผ่านไปมาหรืออาศัยอยู่ใกล้ตู้ยามรู้สึกอุ่นใจเมื่อเกิดเหตุ

                  ความไม่สงบขึ้น ประชาชนรีบมาแจ้งที่ตู้ยามต ารวจเพราะความรู้สึกเคยชินฝังใจว่ามีต ารวจอยู่ใกล้ ๆ ฉะนั้น

                  สถานที่ตู้ยามจะรีบมาแจ้งที่ตู้ยามต้องเห็นได้ชัดเข้าออกได้สะดวก การดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและ

                  การรักษาความสะอาดของตู้ยามจะมีผลท าให้เกิดความรู้สึกน่าเกรงขามส าหรับคนร้าย ประชาชนที่ผ่านไปมา

                  รู้สึกศรัทธาเชื่อถือต ารวจ ห้องน้ า ห้องส้วมต้องสะอาด สามารถที่จะให้บริการแก่ประชาชนผู้มาใช้ได้

                         2. ต ารวจประจ าตู้ยามต้องแต่งกายเรียบร้อยมองดูน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรี

                  และมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ออกเยี่ยมพบปะผูกมิตรกับประชาชนในชุมชนเป็นการสร้างความคุ้นเคย ต ารวจประจ า

                  ตู้ยามต้องมีความพร้องที่จะให้บริการช่วยเหลือเมื่อประชาชนร้องขอ นอกจากนี้ต ารวจประจ าตู้ยามยังต้องเป็น

                  ผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีอีกด้วย

                         3. อุปกรณ์ประจ าตู้ยาม อุปกรณ์การสื่อสารถือเป็นสิ่งส าคัญที่สุดที่เจ้าหน้าที่ประจ าตู้สามารถจะใช้

                  ติดต่อกับสถานีต ารวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรมีแผนที่ตั้งบ้านเรือน ร้านค้าในบริเวณชุมชน
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99