Page 89 - คมองานบรหาร_Neat
P. 89

85

                  ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

                  1. ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191
                         ประเทศไทย โดยกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการต ารวจนครบาล

                  (บก.สปพ.บช.น.) ได้น าระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 มาใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 ในเขตกรุงเทพมหานครและ

                  ปริมณฑล ต่อมาได้ขยายไปยังจังหวัดต่าง ๆ จนในปัจจุบันได้ใช้หมายเลข 191 เป็นหมายเลขฉุกเฉินส าหรับเหตุ
                  ที่เกี่ยวข้องกับต ารวจทั่วประเทศและเป็นสากลแล้ว

                         ลักษณะการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุ 191 มีการจัดตั้งที่กองบัญชาการต ารวจนครบาล และที่ท าการ

                  ต ารวจภูธรจังหวัด จังหวัดละ 1 ศูนย์
                         ศูนย์รับแจ้งเหตุ 191 เป็นหน่วยงานที่มีความส าคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                  ของประชาชนที่ทั้งศูนย์รับแจ้งเหตุ สถานีต ารวจ และสายตรวจ ต่างต้องร่วมกันปฏิบัติเพื่อดูแลแก้ไขปัญหา
                  ความเดือดร้อนของประชาชนอย่างมืออาชีพ เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงประชาชนและเป็นศูนย์ประสานงาน

                  กลางระหว่างหน่วยต่าง ๆ

                         มาตรฐานของระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191
                         ศูนย์รับแจ้งเหตุ 191 มีตัวชี้วัดความส าเร็จของงานตามมาตรฐานขั้นต่ าของระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

                  โดยสมาคมหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ และจากการเทียบเคียงกับระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินประเทศญี่ปุ่น
                  สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอังกฤษ ดังนี้

                         1. การโทรศัพท์ 191 จากโทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์มือถือทุกระบบจะต้องไปติดยังศูนย์รับแจ้ง

                  เหตุที่รับผิดชอบพื้นที่นั้น ๆ
                         2. สามารถรับสายเรียกเข้าได้ทุกสาย ด้วยความเร็วเฉลี่ยไม่เกิน 4 วินาที เมื่อโทรติด

                         3. สามารถรับแจ้งและบันทึกเหตุเบื้องต้นภายในเวลา 1 นาที และสั่งการสายตรวจได้ทันที

                         4. สามารถก ากับดูแลสายตรวจให้ไปที่เกิดเหตุทุกเหตุ ระยะเวลาที่สายตรวจไปที่เกิดเหตุไม่ควรเกิน
                  5 นาที ส าหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและในเขตชุมชน และไม่ควรเกิน 15 นาที ส าหรับพื้นที่นอกเขตชุมชน

                         5. สามารถพิมพ์รายงานจากระบบอย่างน้อย ดังนี้

                                5.1 รายงานโทรศัพท์ สถิติการโทร 191 ระบุจ านวนสายที่โทรเข้า จ านวนสายที่ได้รับ จ านวน
                  สายที่ไม่ได้รับ ความเร็วเฉลี่ยในการรับสาย ทั้งภาพรวมและแยกรายละเอียดของพนักงานรับโทรศัพท์แต่ละคน

                                5.2 รายงานเหตุ
                                        1) รายงานรายละเอียดของเหตุแต่ละเหตุว่าโทรเข้ามาเมื่อใด แจ้งเหตุเรื่องใด

                  ใครเป็นผู้รับสาย ใครเป็นผู้สั่งการ สายตรวจสายใดไประงับเหตุ ใช้เวลาถึงที่เกิดเหตุเท่าใด และผลการปฏิบัติ

                  เป็นอย่างไร
                                        2) รายงานค่าระยะเวลาไปถึงที่เกิดเหตุของเหตุแต่ละเหตุ และ/หรือในภาพรวม

                  ในรอบระยะเวลาที่ก าหนด
                                        3) รายงานจ านวนเหตุ ในรอบระยะเวลาที่ก าหนด แยกตามประเภทของเหตุ และ/

                  หรือแยกตามรายสถานีต ารวจ หรือรายกองบังคับการ
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94