Page 84 - คมองานบรหาร_Neat
P. 84
80
และมาตรการที่ได้ร่วมกันจัดท าขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยตนเองตามกรอบกฎหมาย มีบทลงโทษ
เมื่อมีผู้ฝ่าฝืน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐเป็นที่ปรึกษาในระหว่างด าเนินโครงการ เช่น มาตรการตัด
ความช่วยเหลือของชุมชนต่อครอบครัวและตัวผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติดในชุมชน
วิธีด าเนินการ
การใช้วิทยากรกระบวนการ เข้าด าเนินการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งนั้น สามารถแก้ไขปัญหา
ได้ในระยะสั้นเท่านั้น หากไม่มีกิจกรรมด าเนินการอีก ปัญหาต่าง ๆ ก็จะกลับมาอีก กลยุทธ์ที่ได้ผลที่สุดคือ
การพัฒนา โดยการให้หมู่บ้าน ชุมชนนั้นสามารถรวมตัวกันเพื่อตั้งกลุ่มองค์กรต่าง ๆ แบบยั่งยืน มีการจัดท า
แผนแม่บท และพัฒนาเครือข่ายชุมชนร่วมกันหลายหมู่บ้าน เพื่อให้บรรลุถึงแนวทางพึ่งพาตนเองภายใน
ชุมชน และระหว่างเครือข่าย เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ การตั้งกลุ่มสหกรณ์
กลุ่มออมทรัพย์ การแบ่งการดูแลเป็นคุ้มต่าง ๆ เพื่อเฝ้าระวังปัญหา การจัดตั้งเครือข่าย ร่วมมือในทุก ๆ ด้าน
ระหว่างชุมชนด้วยกันเองจึงเป็นการป้องกันปัญหาต่าง ๆ อย่างถาวร เพราะกิจกรรมเหล่านี้เน้นกระบวนการ
รวมกลุ่มของชุมชนให้ด ารงอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ชุมชนโดยมีเครื่องมือ
วิทยากรกระบวนการ องค์กรส่วนท้องถิ่น สถานีอนามัย วัด โรงเรียน กลุ่มพลังต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ชุมชน
ขั้นตอนที่ 7 ประเมินผล
การติดตามประเมินผล ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเข้าด าเนินโครงการ เจ้าหน้าที่ต ารวจ และ
ชุมชน ร่วมกันประเมินผลโดยใช้แบบส ารวจความคิดเห็น (โพล) หรือการสัมภาษณ์บุคคลว่า ภายหลังจากที่
ด าเนินโครงการไปแล้ว ชุมชนเกิดความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ลดความหวาดระแวงอาชญากรรมลงได้
เพียงใด
วิธีด าเนินการ
ตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลกิจกรรมออกสัมภาษณ์ เยี่ยมเยียน สอบถามถึง
ความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้าน/ชุมชน ในทางที่ดีขึ้น มีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน และตระหนักถึงการเป็น
เจ้าของปัญหาร่วมกันโดยมีเครื่องมือเป็นแบบส ารวจออกพบปะเยี่ยมเยือนรายครัวเรือน และแกนน ากลุ่มต่าง ๆ
ในพื้นที่การด าเนินการเช่นนี้ จึงจะเป็นการเอาชนะปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยวิถีชุมชน และพลังของชุมชนเอง
เป็นหลัก ซึ่งถือเป็นความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ชุมชน อย่างแท้จริง
บทสรุป
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต ารวจ ด้านชุมชนเข้มแข็งเพื่อการป้องกันอาชญากรรม เป็นแนวทาง
ในการท างานของเจ้าหน้าที่ต ารวจเพื่อลดปัญหาอาชญากรรม ด้วยความร่วมมือระหว่างต ารวจและชุมชน
มุ่งเน้นให้มีการใช้ความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ การเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง โดยเจ้าหน้าที่
ต ารวจมีหน้าที่ให้ความรู้และสร้างความร่วมมือ เพื่อให้ประชาชนได้มาช่วยเหลืองานป้องกันอาชญากรรมและ
แก้ไขความไม่เป็นระเบียบของชุมชน หลักการนี้จสอดคล้องกับหลักการ “การต ารวจชุมชน” (Community
Policing) ที่มีต้นก าเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดของหลักการต ารวจ