Page 82 - คมองานบรหาร_Neat
P. 82
78
เร่งด่วนของปัญหาที่ต้องด าเนินการแก้ไขก่อน - หลัง นอกจากนี้ใช้เวทีประชาคมค้นหาสาเหตุและแนวทาง
ในการแก้ไขปัญหา
วิธีด าเนินการ
วิทยากรกระบวนการเปิดประชุมแบบมีส่วนร่วมหรือเวทีชาวบ้าน เพื่อให้ประชาชนได้เห็น
ความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน ซึ่งเขาเหล่านั้นเป็นความเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด แต่ไม่สามารถน าความรู้
ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงนั้นไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ วิทยากรกระบวนการโดยชุดชุมชนสัมพันธ์ ต้องก าหนด
กิจกรรม สะท้อนข้อมูลของปัญหา เรียกว่าทุกข์ของชุมชน หรือทุกข์ของครอบครัว เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหา
ของหมู่บ้านชุมชนคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร จากนั้นให้ชาวบ้านลงคะแนน ปัญหาของหมู่บ้าน ชุมชน
ซึ่งสามารถทราบถึงล าดับความส าคัญของปัญหาที่ชาวบ้านต้องการแก้ไข เรียกว่า การวิเคราะห์วิกฤติของปัญหา
และแสดงให้เห็นว่าในส่วนลึกของชาวบ้านล้วนต้องการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่ต่างซ่อนความรู้สึกไว้
นอกจากนี้ท าให้ค้นพบว่าสาเหตุของปัญหามาจากความสูญเสียศักยภาพของการพึ่งตนเองการวิเคราะห์ปัญหา
ของหมู่บ้าน ชุมชน ต้องควบคู่ไปกับการปฏิบัติการทางจิตวิทยาของวิทยากรกระบวนการ เพื่อให้ชาวบ้านเกิด
ความคิด ความรู้สึกที่จะต้องลุกขึ้นมาแก้ปัญหาของตัวเอง และพร้อมใจท าพันธะสัญญาในการร่วมกันแก้ไข
ปัญหา เกิดส านึกของชุมชนที่หายไป หรือถูกบั่นทอน ให้กลับมาอีกครั้ง โดยใช้กลยุทธ์หลัก
3 ประการ คือ ชี้ให้เห็นทุกข์ ปลุกให้ลุกขึ้นสู้ เรียนรู้ร่วมกันเพื่อแก้ไข โดยมีเครื่องมือ วิทยากรกระบวนการ
กิจกรรมทุกของครอบครัว ชุมชน และแบบส ารวจ
ขั้นตอนที่ 5 ยกร่างกิจกรรมชุมชน
ขั้นตอนการยกร่างกิจกรรม เป็นขั้นของการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปแบบ มีการก าหนดกิจกรรม
ที่สามารถปฏิบัติแล้วเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ เช่น มาตรการทางสังคมของชุมชน อาสาสมัครต ารวจบ้าน โครงการ
พัฒนาผู้น าหมู่บ้านชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการป้องกันอาชญากรรมและยาเสพติด โครงการค่ายผู้น าเยาวชน
ป้องกันอาชญากรรมและปัญหายาเสพติด เพื่อให้เยาวชนได้ทราบถึงโทษของยาเสพติด เป็นต้น นอกจากนี้
ชุมชนต้องสามารถจัดล าดับความส าคัญ และร่วมพิจารณาว่า แผน/โครงการใดชุมชนสามารถด าเนินการได้เอง
หรือต้องขอรับการสนับสนุนจาก อบต.หรือต้องขอรับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ต ารวจ ซึ่งจะท าให้ทุกคน
ในชุมชนได้รับรู้ ร่วมคิด ร่วมท า ร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมรับผลประโยชน์ จากแผนงาน/โครงการที่ก าหนดขึ้นอย่าง
แท้จริง