Page 78 - คมองานบรหาร_Neat
P. 78

74

                           6. การบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือส าคัญในการแก้ไขปัญหาชุมชน (Law Enforcement)

                  ขณะเดียวกันต ารวจมีหน้าที่ในการรักษาความสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายหรือการจับกุม กับความ
                  ร่วมมือของชุมชน ในการแก้ไขต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรม หรือความไม่เป็นระเบียบของชุมชน

                           7. เน้นป้องกันปัญหาอาชญากรรม มากกว่ารอให้เกิดเหตุ (Proactive Crime Prevention)

                  การต ารวจชุมชนสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันอาชญากรรมด้วยชุมชนเอง โดยการแก้ไข

                  ที่ต้นเหตุของปัญหา การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม การจัดระบบเพื่อนบ้านเตือนภัย หรือจัด

                  สายตรวจประชาชน เป็นต้น

                           8. ใช้เทคนิคแก้ปัญหา (Problem Solving) โดยต ารวจ ชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมกันเพื่อ

                  ก าหนดต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน (Scanning) แล้ววิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
                  (Analysis) แสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา (Response) ด าเนินการแก้ไขปัญหา แล้วประเมินผล

                  (Assessment)

                           9. การเป็นหุ้นส่วนและสร้างความร่วมมือระหว่างต ารวจและชุมชน (Partnerships) ประชาชนใน

                  ชุมชนคือหุ้นส่วนของต ารวจร่วมรับผิดชอบในการป้องกันอาชญากรรม หรือปัญหาความไม่เป็นระเบียบใน

                  ชุมชน ไม่ใช่ปล่อยเป็นปัญหาของต ารวจฝ่ายเดียว
                           10. ต ารวจต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Integration) แก้ไขปัญหาที่เป็นต้นเหตุในการท า

                  ให้เกิดปัญหาสังคมอันน าไปสู่อาชญากรรม



                  บทบาทชุมชนกับการบังคับใช้กฎหมาย
                           นอกจากหลักการต ารวจชุมชนที่ปลูกจิตส านึกของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมว่าเป็นงาน

                  ของตนเองมิใช่เป็นงานของต ารวจแต่เพียงฝ่ายเดียว ในการบังคับใช้กฎหมายได้ก าหนดให้ประชาชน

                  มีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ต ารวจในการปฏิบัติตามหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                           1. การจับกุมผู้กระท าผิดซึ่งหน้า ตามความผิดที่ได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

                  ความอาญา ราษฎรมีอ านาจจับกุมผู้กระท าผิดได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 79,80)

                           2. การตรวจค้นผู้ถูกจับ สืบเนื่องจากการจับกุมตัวผู้กระท าผิดกรณีราษฎรเป็นผู้จับ โดยหลักการ
                  ราษฎรไม่มีอ านาจในการตรวจค้นบุคคล หากราษฎรเป็นผู้จับ ผู้จับสามารถท าการตรวจค้นได้ เพื่อพบและยึด

                  อาวุธหรือสิ่งของที่ผู้ถูกจับอาจใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ท าร้ายราษฎรผู้จับกุมได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย

                  ของราษฎรผู้จับเอง

                           3. การควบคุมตัวผู้กระท าความผิดเมื่อราษฎรจับกุมตัวผู้ถูกจับแล้ว ราษฎรมีอ านาจควบคุมตัว

                  ผู้ถูกจับไปยังที่ท าการพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ต ารวจ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                  มาตรา 83, 84)
                           4. การป้องกันตนเอง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68) กฎหมายให้สิทธิแก่ราษฎรในการป้องกัน

                  ตนเองต่อการกระท าที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ต่อชุมชน
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83