Page 76 - คมองานบรหาร_Neat
P. 76

72

                           7. มีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้าน ภาคราชการ องค์กรเอกชน

                  นักธุรกิจ นักวิชาการและอื่น ๆ ในลักษณะของการมีความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกันบทบาทของชุมชน
                  ในการป้องกันอาชญากรรม

                             การป้องกันอาชญากรรม แม้เจ้าหน้าที่ต ารวจมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ในการดูแลรักษา

                  ความสงบสุข เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน แต่เนื่องด้วยข้อจ ากัดหลายประการ

                  ในการปฏิบัติงานและสภาพปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรม ในชุมชนอยูใกล้ชิดและส่งผลกระทบต่อชุมชน

                  โดยตรง ดังนั้น “ ความรู้สึกผูกพันร่วม” (Shared Commitment) ของชุมชนว่าปัญหาใดต้องได้รับการแก้ไข

                  และขจัดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาชญากรรมอย่างเร่งด่วน โดยความร่วมมือกันของชุมชนเองย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย

                  และบรรลุผลดีมากกว่าการที่เจ้าหน้าที่ต ารวจจะเข้าไปจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะ
                  อาชญากรรมไม่อาจหมดลงไปได้หากปัจจัยเสี่ยงในชุมชนยังด ารงอยู่และไม่ได้รับความสนใจจากชุมชน

                  การด าเนินกิจกรรมของชุมชนเพื่อการป้องกันอาชญากรรมโดยอาศัย หลักทฤษฎีกิจวัตรประจ าวัน (Routine

                  activity theory) อธิบายสาเหตุอาชญากรรมเกิดจากการประกอบกิจวัตรประจ าวันของประชาชนผู้เสียหาย

                  คือ ผู้กระท าผิด, เหยื่อ, โอกาสการกระท าผิดสิ่งส าคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรมก็คือ ชุมชน

                  ที่จะสามารถลดผู้กระท าผิด ผู้เสียหายหรือเหยื่อ อาชญากรรม ผู้ด้อยโอกาส และสภาพแวดล้อมเงื่อนไขที่ท าให้
                  เกิดอาชญากรรมได้เป็นอย่างดี การด าเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันอาชญากรรมที่ผ่านมา จะประกอบด้วย

                  4 แนวทาง ได้แก่

                           1. การบังคับใช้กฎหมายเพื่อเป็นการป้องปรามอาชญากรรมท าให้คนในสังคมมีความเกรงกลัว

                  ต่อกฎหมายและบทลงโทษคือเป็นการข่มขู่และยับยั้งเป็นส าคัญ สามารถตัดมูลเหตุจูงใจในการกระท าความผิด

                           2. การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรม

                           3. การลดช่องโอกาสการกระท าความผิด
                           4. การมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ต ารวจในการป้องกันอาชญากรรม จะเห็นได้ว่าการป้องกัน

                  อาชญากรรมไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้หากปราศจากความร่วมมือจากชุมชน



                  ต ารวจชุมชนและต ารวจชุมชนสัมพันธ์
                  ต ารวจชุมชน

                           ต ารวจชุมชน (Community Policing) หมายถึง “หลักการการท างานของต ารวจ ซึ่งส่งเสริม

                  สนับสนุน แก้ต้นเหตุ เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความไม่เป็นระเบียบของชุมชน โดยเทคนิคการแก้

                  ต้นเหตุปัญหาด้วยความร่วมมือระหว่างต ารวจและชุมชน” ซึ่งเป็นแนวคิดเริ่มต้นมาจาก เซอร์ โรเบิร์ต พีล

                  ผู้ก่อตั้งต ารวจมหานครลอนดอนหรือ สกอตแลนด์ยาร์ด ที่ว่า “ต ารวจคือประชาชน ประชาชนคือต ารวจ”

                  (The police are the public and the public are the police)
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81