Page 74 - คมองานบรหาร_Neat
P. 74

70

                         สิ่งส าคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรมก็คือ ชุมชนสามารถที่จะลดหรือปรามผู้กระท าผิด

                  หรือป้องกันผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม ผู้ด้อยโอกาสจากการเกิดอาชญากรรมและมีการออกแบบ
                  สภาพแวดล้อมเพื่อลดเงื่อนไขที่ท าให้เกิดอาชญากรรม

                         “ชุมชนเข้มแข็งเพื่อการป้องกันอาชญากรรม” เป็นการต่อยอดจาก”งานต ารวจชุมชนสัมพันธ์”

                  จากการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนมาสู่ “ความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ระหว่างต ารวจกับ

                  ประชาชน”

                         ความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนเข้มแข็งเป็นทางเลือกส าคัญของการพัฒนา เนื่องจากการแก้ปัญหา

                  ในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ไม่สามารถกระท าได้เพียงล าพังเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และ

                  ชุมชนเท่านั้น ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วม มีบทบาทในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการให้ความส าคัญ
                  ต่อกระบวนการพัฒนาที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยการเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง

                  มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกับปัญหาทรัพยากรต่าง ๆ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

                  รวมทั้งการก าหนดอนาคตของชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชนจึงเป็นรากฐานส าคัญที่จะช่วยในการสร้าง

                  กระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป

                  ความหมาย
                           ความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง การที่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของเมืองหรือชนบท รวมตัวกัน

                  เป็น “องค์กรชุมชน” กลุ่ม ชมรม สหกรณ์ บริษัท องค์กรชาวบ้าน เครือข่ายหรืออื่น ๆ มีการเรียนรู้ การจัดการ

                  และการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม

                  วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชนที่ดีขึ้นตามล าดับ

                           ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นแบบแผนความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชน มีการจัดระเบียบทางสังคม

                  ที่ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจ าวัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา การศึกษาสันทนา
                  การหรือกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งสมาชิกภายในชุมชนยังสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เป็นปัญหา

                  ร่วมกันของชุมชนได้อีกด้วย หลักส าคัญของชุมชนเข้มแข็งขึ้นอยู่กับสภาวการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง

                  กัน เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยการผลิต ความรู้ ทักษะของแต่ละชุมชนและการสร้างกระบวนการ หรือจัด

                  ระเบียบทางสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการจ าเป็นของคนในชุมชนอย่างสอดคล้องกับความต้องการของ

                  ชุมชนเองการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ละชุมชน

                  จะมีการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติต่าง ๆ เช่น มิติทางด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้าน
                  ทรัพยากรธรรมชาติ มิติทางด้านสังคมและมิติทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น

                  อาจพัฒนาความเข้มแข็งได้เพียงบางมิติเท่านั้น เนื่องจากเงื่อนไขและกระบวนการที่น าไปสู่ความเข้มแข็งในแต่

                  ละมิติของแต่ละชุมชนที่มีความแตกต่างกัน

                           เครือข่าย หมายถึง องค์กร ชุมชนหลายๆ องค์กรที่สัมพันธ์กันเป็นกลุ่มคล้าย ๆ ชมรมหรือสมาคม

                  หรืออาจเป็นสมาคมที่จดทะเบียนเป็นทางการก็ได้ ทั้งนี้แต่ละองค์กรต่าง ๆ ยังคงด าเนินงานของตนเองได้อย่าง
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79