Page 75 - คมองานบรหาร_Neat
P. 75

71

                  เป็นอิสระ แต่ความส าคัญอยู่ที่การส่งเสริม การเชื่อมประสานให้เกิดเครือข่ายและความรู้ในบทบาทหน้าที่ของ

                  ตนเอง การเป็นเครือข่ายจ าเป็นต้องสร้างศรัทธาในพลังชุมชน ต้องมีความเชื่อว่าชุมชนสามารถพัฒนาจนถึง
                  การพึ่งพาตนเองได้หากพวกเขามีโอกาส และถ้าชุมชนมี “เครือข่าย” มีเพื่อน มีคน องค์กร ที่คิดคล้ายกัน

                  มีเป้าหมายคล้ายกัน มีปัญหาและวิธีการแก้ไขที่คล้ายกัน ก็จะมีการเชื่อมโยงเครือข่าย เชื่อมโยงแนวคิด

                  เพื่อมาร่วมกันด าเนินงานร่วมกันช่วยเหลือ แก้ไขและปรับปรุงให้ชุมชนดีขึ้น องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง

                  คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตภายใต้คณะกรรมการนโยบายสังคม

                  แห่งชาติ ได้ก าหนดกรอบองค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็งไว้ ดังนี้

                           1. มีการรวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชนอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

                           2. มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยประโยชน์สาธารณะและของสมาชิกชุมชน
                           3. มีจิตส านึกของการพึ่งตนเองรักษาเอื้ออาทรต่อกันและมีความรักท้องถิ่นรักชุมชน

                           4. มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมท าและร่วมรับผิดชอบ

                           5. มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชน อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

                           6. มีการเรียนรู้เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกันหลายรูปแบบ

                           7. มีการจัดกิจกรรมรวมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
                           8. มีการจัดการบริหารกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี

                           9. มีการเสริมสร้าง ผู้น าการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายของชุมชนสืบทอดกันตลอดไป

                  ลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง

                           1. เป็นชุมชนที่อยู่รวมกันเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นและสมาชิกของชุมชนมีศักยภาพที่จะร่วมมือกันแก้ไข

                  ปัญหาของชุมชน รวมทั้งมีอุดมการณ์ ค่านิยมร่วมกัน สมาชิกรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและมีความผูกพัน

                  กับชุมชน
                           2. มีศักยภาพที่พึ่งตนเองได้ในระดับสูง โดยมีทุน แรงงาน ทรัพยากร เพื่อการยังชีพพื้นฐาน หากมี

                  การพึ่งพิงภายนอกชุมชนก็จะต้องมีอ านาจในการจัดการเลือกสรรและตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้

                           3. สามารถควบคุมและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัยอ านาจ ความรู้

                  และองค์กรทางสังคมในชุมชน เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหา

                           4. สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้และสร้าง

                  ภูมิปัญญา
                           5. มีส่วนร่วมในการประเมินสถานการณ์ ก าหนดวิสัยทัศน์ ร่วมคิด ตัดสินใจ ด าเนินงาน ติดตาม และ

                  ประเมินผลการแก้ปัญหาและการพัฒนาผ่านกระบวนการชุมชน

                           6. มีแผนการพัฒนาที่มุ่งการพึ่งตนเองเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกและมุ่งหวังการพัฒนาที่ยั่งยืน
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80