Page 80 - คมองานบรหาร_Neat
P. 80
76
อบต. หรือที่นักวิชาการเรียกว่า “ผู้น าทางธรรมชาติ” เช่น พระ ผู้อาวุโส กลุ่มแกนน าสตรี กลุ่มแม่บ้าน พ่อเฒ่า
แม่แก่ ที่ชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ โดยสัมพันธภาพระหว่างแกนน าหรือผู้น ากับสมาชิกในชุมชนจะเป็น
จุดเริ่มต้นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
วิธีด าเนินการ
การด าเนินการค้นหาแกนน าของชุมชนในขั้นนี้ เจ้าหน้าที่ต ารวจ อาจเริ่มจากการท าตาราง
บัญชีตัวแทน แกนน าของทุกภาคส่วนในชุมชน จากนั้นพิจารณาว่า ผู้ใดจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใน
การขับเคลื่อนชุมชนและชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ โดยอาจเปิดเวทีแบบมีส่วนร่วม หรือเวทีชาวบ้าน โดยให้
ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ได้เลือกผู้น าของตนเอง โดยมีเครื่องมือ คือ แบบส ารวจค้นหาผู้น าหมู่บ้าน/ชุมชน
ทั้งผู้น าองค์กรส่วนท้องถิ่นและผู้น าทางธรรมชาติ
ขั้นตอนที่ 2 จุดประกายความคิด
ในขั้นตอนของการจุดประกายความคิด เจ้าหน้าที่ต ารวจต้องเชื่อถือในศักยภาพของแกนน าว่าหาก
กระตุ้นให้แต่ละคนมีโอกาสใช้ภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถ อย่างเต็มที่แล้ว ก็เท่ากับเป็นการสร้าง
ความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดให้มีชุดวิทยากรกระบวนการ ซึ่งเสมือนเป็นตัวน าความเปลี่ยนแปลงทางความคิด
ไปสู่ชุมชน
วิทยากรกระบวนการ โดยชุดชุมชนสัมพันธ์ จ าเป็นต้องมีความรู้ เทคนิค วิธีการ กระตุ้นความคิดแก่
ชุมชน เช่น เทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วม กระบวนการค้นหาปัญหา และอนาคตของชุมชน การท าแผนที่
ความคิด การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเบื้องต้น การวิเคราะห์ปัญหาความยากจน การพัฒนาตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เทคนิคการสร้างอุดมการณ์ ความรัก ความสามัคคี
เทคนิคการโน้มน้าวชักจูง การปลุกกระแสความคิด เป็นต้น และสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ให้เกี่ยวข้อง
กับปัญหาของชุมชนได้
วิธีด าเนินการ
จัดการประชุมแบบมีส่วนร่วมหรือเวทีชาวบ้าน วิทยากรกระบวนการ ต้องเปลี่ยนกรอบ
แนวคิดของชาวบ้านให้ได้ว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน การที่พวกท่าน
เสียเวลามาประชุมครั้งนี้ก็เพื่อสร้างชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกท่านเอง โดยก าหนดกิจกรรม ที่จุดประกาย
ความคิด ให้ชาวบ้านเห็นความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน กระบวนการดังกล่าว เริ่มต้นจากการให้ชาวบ้าน
ได้แสดงออกถึงวิถีของหมู่บ้านของตนเองในอดีต เรียนรู้ปัจจุบันและหยั่งเห็นอนาคตของหมู่บ้าน ซึ่งมักพบว่า
วิถีหมู่บ้านชุมชนในอดีตมีความสุขมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง เอื้ออาทรต่อกันและกัน แต่ในปัจจุบันกลับได้รับ
ความทุกข์มากขึ้น หากให้สถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ เป็นไปตามทิศทางนี้โดยไม่มีการแก้ไขให้ดีขึ้น ย่อมหมายถึง
ความหายนะของหมู่บ้านชุมชนอย่างแน่นอน การอบรมเพิ่มเติมความรู้ น าแกนน าและชาวบ้านไปทัศนศึกษา
ดูงาน อาทิ โดยพาแกนน า ผู้น า ไปศึกษาดูงานชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนต้นแบบที่สามารถจัดการตัวเองได้