Page 69 - คมองานบรหาร_Neat
P. 69
65
บทที่ 4
การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยประชาชนมีส่วนร่วม (ประชารัฐ)
การป้องกันอาชญากรรมแบบมีส่วนร่วม : โดยภาคประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น
1.วิวัฒนาการของประเทศไทยในเรื่องของการป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาวิวัฒนาการของประเทศไทยในเรื่องของการป้องกันปราบปรามโจรผู้ร้าย จากอดีตจนถึง
ปัจจุบัน ตั้งแต่ในยุคกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พระอัยการลักษณะโจรตราขึ้นในสมัย พระรามาธิบดีที่ 1
พระเจ้าอู่ทอง เมื่อพุทธศักราช 1903 มีกฎหมายในลักษณะหนึ่งเรียกว่า กฎหมายโจร 3 เส้น 15 วา คือ กฎหมาย
ที่เป็นการก าหนดความรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมู่เหล่าในชุมชน เพื่อเป็นการให้เพื่อนบ้านคอยดูแลรักษา
ความปลอดภัยซึ่งกันและกันเอง ซึ่งสรุปได้ว่าเมื่อมีการปล้นก็ดี ฆ่าคนตายก็ดี หรือท าร้ายสัตว์ถึงตายก็ดี
ถ้าการกระท าความผิดเหล่านี้เกิดขึ้นในอาณาบริเวณของหมู่บ้านใด ให้สมาชิกทุกคนของหมู่บ้านนั้นมีหน้าที่
ช่วยกันสืบค้นหาผู้ร้ายให้จงได้ และถ้าการปล้นนั้นเกิดขึ้นในขณะที่เพื่อนบ้านอยู่ด้วยกัน เพื่อนบ้านมีหน้าที่
ช่วยต่อสู้ป้องกันโจรด้วย นอกจากนี้ความรับผิดชอบในการชดใช้สินไหมทดแทนยังตกแก่ผู้ที่อยู่รัศมีระยะทาง
3 เส้น 15 วา (ประมาณ 150 เมตร) โดยวัดรอบจากจุดที่เกิดเหตุ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ข้อ 12 กฎหมายลักษณะโจร ระบุว่า “ให้นายบ้าน (เจ้าพนักงาน) ว่ากล่าวแก่
ชาวบ้านทั้งปวง ท าจ าหล่อแลกองเพลิง หน้าบ้าน หลังบ้าน แล้วให้ผลัดเปลี่ยนกันมานั่งยามตระเวนบรรจบ
พิทักษ์รักษาป้องกัน ซึ่งภัยผู้ร้ายจะมาท าร้ายคนบ้านนั้น และให้มีกลองสัญญาณไว้ด้วยจงทุกบ้านถ้าแล
อ้ายผู้ร้ายจะเข้าปล้นและกระท าร้ายสิ่งใดเป็นการเร็วในทันใดนั้นให้ตีกลองสัญญาณขึ้นแล้วให้ชาวบ้าน
ทั้งปวงมาพร้อมกันจับกุมติดตามอ้ายผู้ร้ายนั้นจงได้”
สมัยกรุงธนบุรี มีการประกาศบัญญัติใช้ในกฎหมายตรา 3 ดวงดังนี้ ผู้ใหญ่บ้านมีอ านาจว่ากล่าว
ลูกบ้าน และจัดการป้องกันโจรผู้ร้าย จัดให้ลูกบ้านผลัดเปลี่ยนกันอยู่ยามตรวจตราในหมู่บ้าน ให้มีเครื่อง
สัญญาณส าหรับเรียกกันมาช่วยเหลือต่อสู้จับกุมผู้ร้าย ถ้ามีเหตุเกิดขึ้นให้จัดแบ่งพวกออกติดตาม สกัดจับโจร
ผู้ร้ายตามสมควรแก่เหตุการณ์เพื่อจับกุมเอาตัวผู้ร้ายมาให้ได้
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
1. ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 ประชาชนยังมีบทบาทในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
เช่นเดิม ต ารวจจะมีบทบาทต่อเมื่อได้รับพระบรมราชโองการโปรดให้ต ารวจหลวงช่วยงานเป็นครั้งคราว กรณี
มีโจรผู้ร้ายชุกชุมหรือมีคดีอุกฉกรรจ์
2. รัชกาลที่ 4 จัดตั้งกองต ารวจ ท าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
3. รัชกาลที่ 5 จัดตั้ง กระทรวงนครบาล มีการขยาย “กองโปลิศ” และตรากฎหมายโปลิศ 53 ข้อ
อันเป็นกฎหมายจัดระเบียบและข้อบังคับแก่ต ารวจในการท าหน้าที่ด้านรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน
บ้านเมืองอย่างมีระบบ จุดเริ่มต้นที่ “ต ารวจ” เข้ามาท าหน้าที่ในการรักษากฎหมาย ท าให้บทบาทของ
ประชาชนในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเช่นในอดีตลดลงไป