Page 67 - คมองานบรหาร_Neat
P. 67

63

                                        (1) การเปรียบเทียบด้วยช่วงเวลาต่อเนื่อง เป็นการเปรียบเทียบในลักษณะสัปดาห์

                  ต่อสัปดาห์ ในเดือนและปีเดียวกัน หรือเดือนต่อเดือน หรือไตรมาส ต่อไตรมาสในปีเดียวกัน เช่น ช่วงวันที่ 1-7

                  มี.ค. 61 กับช่วงวันที่ 8-14 มี.ค. 61 หรือเดือน มี.ค. 61 กับเดือน เม.ย. 61 เป็นต้น

                                        (2) การเปรียบเทียบด้วยช่วงเวลาไม่ต่อเนื่อง เป็นการเปรียบเทียบในลักษณะ

                  สัปดาห์เดียวกัน ต่างเดือนในปีเดียวกัน หรือเดือนเดียวกันแต่ต่างปี เช่น

                                               ช่วงวันที่ 1-7 มี.ค. 60 กับช่วงวันที่ 1-7 มี.ค. 61 หรือ

                                               ช่วงเดือน 1-7 มี.ค. 60 กับช่วงเดือน 1-7 มี.ค. 61

                                        การเปรียบเทียบสถิติอัตราการเกิดท าให้ผู้บริหารทราบถึงความเหมาะสมของแผนว่า
                  ควรจะได้รับการเปลี่ยนแผนหรือด าเนินการตามแผนต่อไป

                                        อย่างไรก็ตามในการเปรียบเทียบเกี่ยวกับช่วงเวลา ผู้บริหารต้องค านึงถึงปัจจัยหรือ

                  ตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่ม-ลด สถิติด้วย เช่น ภาวะน้ าท่วมในแต่ละปี หรือภาวะฤดูกาลต่าง ๆ

                  เช่น ฤดูฝนกับหนาว เป็นต้น

                                2) การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สายตรวจ

                                        ผู้บริหารงานสายตรวจ ต้องวางหลักเกณฑ์และก าหนดองค์ประกอบของการปฏิบัติ

                  ในการประเมินให้เป็นไปแนวทางเดียวกันอย่างมีมาตรฐานและด้วยความเป็นธรรม การประเมินควรกระท าใน

                  รูปของคณะกรรมการ การประเมินอาจเจาะลึกเข้าไปสู่การปฏิบัติเกี่ยวข้องกับงานสายตรวจโดยอาจแบ่งตาม

                  ประเภทของงาน ได้ดังนี้

                                        (1) ประเภทงานหลัก ได้แก่ งานประจ าที่ได้รับมอบหมาย โดยพิจารณาถึงการ

                  ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต ารวจสายตรวจผู้ถูกประเมินว่าท าการปฏิบัติก่อนออกตรวจ การปฏิบัติขณะตรวจ

                  และการปฏิบัติหลังออกตรวจนั้น มีความถูกต้องตามที่ได้ก าหนดหรือได้สั่งการไว้หรือไม่เพียงใด

                                        (2) ประเภทงานรอง ได้แก่

                                               ก .  งานบริการและให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยพิจารณาถึง

                  ความรวดเร็ว ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ในการเดินทางไปยังที่เกิดเหตุทั้งที่ได้รับแจ้งข่าวสารทางวิทยุ

                  หรือผู้ให้ข่าวอื่น ๆ การเข้าไปบริการหรือช่วยเหลือประชาชนขณะออกตรวจ การให้บริการ หรือระงับเหตุอื่น ๆ

                  ที่เกิดผลดีต่อส่วนรวม เช่น แก้ไขรถยนต์ที่เครื่องยนต์เสีย การด าเนินการกรณีสัตว์ร้ายเข้าบ้าน ฯลฯ

                                               ข. ผลการป้องกันการปราบปราม งานสายตรวจในปัจจุบันได้ให้ความส าคัญ

                  ในการป้องกันมากกว่าการปราบปราม การประเมินผลจึงต้องกระท าควบคู่กันไป โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติ

                  ที่เกี่ยวกับการด าเนินการด้วยปฏิภาณไหวพริบ ความอดทน ความกล้าหาญ การเสี่ยงอันตรายต่อการเข้า

                  ป้องกันระงับและบรรเทาเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดอาชญากรรมเป็นคะแนนหลัก และน า

                  คะแนนผลการจับกุมตามความหนักเบาของข้อหาเป็นคะแนนสนับสนุน
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72