Page 97 - คมองานบรหาร_Neat
P. 97
93
บทที่ 7
การประเมินผลลัพธ์ของการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
1. หลักการและเหตุผล
การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เป็นภารกิจอันส าคัญของต ารวจ นอกจากนี้ งานสายตรวจก็ยัง
เปรียบเสมือนเป็น “กระดูกสันหลังของงานต ารวจ” งานป้องกันและปราบปรามและงานสายตรวจ จึงถือเป็น
พันธกิจหลักที่ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ให้ความส าคัญ ในเชิงการบริหารงาน เมื่อผู้บริหารงานในแต่ละระดับ
ได้บริหารงานในหน้าที่ต่าง ๆ แล้ว จ าเป็นจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติ เพื่อวัดผลงานว่าเป็นไปตาม
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่ การประเมินผลนับว่าเป็นเครื่องมือส าคัญของนักบริหาร
การบริหารงานภาครัฐ จ าเป็นจะต้องยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance)
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 6 ก าหนดให้
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจ าเป็น
(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(6) ประชาชนได้รับการอ านวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ าเสมอ
มาตรา 45 – 49 ได้บัญญัติเกี่ยวกับแนวทางการประเมินซึ่งมีทั้งการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระ
ด าเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจ
ของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ และยังมีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ
นอกจากนี้ ในการบริหารงานบุคคล การพิจารณาความดีความชอบให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็จ าเป็นที่จะต้องมี
การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการต ารวจ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่ก าหนด
ดังนั้น งานป้องกันปราบปรามและงานสายตรวจ จึงจ าเป็นต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติเพื่อให้
เป็นไปตามหลักการบริหารงานและเป็นการด าเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว
2. วัตถุประสงค์การประเมินผล
การประเมินผลงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและงานสายตรวจ ของหน่วยงานสถานีต ารวจ
รวมทั้งหน่วยปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามอื่น ๆ มีวัตถุประสงค์ในการประเมินผล ดังนี้