Page 8 - คมองานบรหาร_Neat
P. 8
4
ผู้กระท าผิด ทัศนะของ Peel ได้กลายเป็นพื้นฐานของการก่อก าเนิดแนวทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย
(Law Enforcement Approach) เพื่อป้องกันอาชญากรรมขึ้น ยุทธวิธีหลักของต ารวจในการป้องกัน
อาชญากรรมตามทฤษฎีบังคับใช้กฎหมายก็คือ การตรวจท้องที่ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นกระดูกสันหลัง
ของงานต ารวจ (Wilson & Mclaren, 1793) ส าหรับหลักใจความของทฤษฎีนี้พอสรุปได้ว่า การปรากฏตัว
ของต ารวจย่อมมีผลในการยับยั้งผู้ที่มีแนวโน้มจะประกอบอาชญากรรม ทั้งนี้เพราะความเกรงกลัวการจับกุม
ฉะนั้น ต ารวจสายตรวจจึงต้องแต่งเครื่องแบบและรถวิทยุสายตรวจจึงควรมีลักษณะเด่นชัด เห็นได้ง่าย เพื่อเป็น
การข่มขวัญ ยับยั้งอาชญากร นอกจากนั้นการตรวจท้องที่โดยสม่ าเสมอต่อเนื่องจะท าให้สมาชิกในชุมชน
เกิดความรู้สึกว่าต ารวจอยู่ทั่วไปทุกแห่งหน ด้วยเหตุนี้ตามแนวทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย การปรากฏตัว
ของต ารวจและการกระจายก าลังต ารวจให้ครอบคลุมทั่วทั้งชุมชนจะช่วยป้องกันอาชญากรรมโดยลดช่องโอกาส
ส าหรับผู้ที่ตั้งใจจะละเมิดกฎหมาย
อนึ่ง งานตรวจท้องที่ของต ารวจมีลักษณะเป็นได้ทั้งงานประจ าและงานเฉพาะกิจ ในลักษณะงาน
ประจ าต ารวจสายตรวจมักได้รับการก าหนดพื้นที่รับผิดชอบในการป้องกันอาชญากรรมและระงับเหตุร้าย
ภายในระยะเวลาแต่ละผลัดที่ปฏิบัติหน้าที่ ส่วนในลักษณะงานเฉพาะกิจนั้น ต ารวจสายตรวจในทุกเขตพื้นที่คือ
ก าลังหลักที่พร้อมจะรวมตัวในทันทีที่ได้รับค าสั่งจากศูนย์บัญชาการ เพื่อการปฏิบัติงานเฉพาะกิจเร่งด่วน
ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ (Community Relations Approach)
“ชุมชนสัมพันธ์ Community Relations” ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวความคิดและผลการวิจัยของ
นักอาชญาวิทยากลุ่มชิคาโก หรือบางครั้งเป็นที่รู้จักในนามของ “ส านักนิเวศวิทยาอาชญากรรม”
(The Ecological School of Criminology) หลักใหญ่ใจความของทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์เพื่อป้องกันอาชญากรรม
ก็คือ การจัดสภาพทั่วไป ไม่ว่าในระดับเมือง ชุมชน หรือละแวกบ้าน ในลักษณะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคล ง่ายต่อการควบคุม สังเกต ตรวจตรา โดยไม่ล่วงล้ าสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล รวมทั้งมุ่งสนับสนุนส่งเสริม
ให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ทั้งของตนเองและบุคคลอื่น
ให้ปลอดภัยจากภัยอาชญากรรม โดยต ารวจจะเป็นผู้มีบทบาทในการวางแผน สนับสนุน และให้ค าปรึกษา
แก่ชุมชนในการป้องกันอาชญากรรม