Page 9 - คมองานบรหาร_Neat
P. 9
5
การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของชุมชน น าไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง
ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม (Crime Control Through Environmental
Design : Theory and Practice)
แนวทฤษฎีนี้มีลักษณะเป็นแนวความคิดรวม (Synthesis) ระหว่างทฤษฎีบังคับใช้กฎหมาย และทฤษฎี
ชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 มิติ คือ
มิติที่ 1 สภาพแวดล้อมรูปธรรม
มิติที่ 1 นี้ คือ สภาพแวดล้อมรอบตัวบุคคลที่มีรูปร่าง ตัวตน สัมผัสได้และสามารถน ามาใช้
ประโยชน์ในการลดช่องโอกาสของการประกอบอาชญากรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มุ่งขัดขวางพฤติกรรม
อาชญากรโดยการควบคุมสภาพแวดล้อมรูปธรรม โดยมีมาตรการด าเนินการ เช่น
1) มาตรการระดับชุมชน : การวางผังเมืองและชุมชน การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง การออกแบบอาคาร
และการสลักหมายเลขบนทรัพย์สิน
2) มาตรการระดับบ้านเรือน : ความมั่นคงของประตูหน้าต่าง การใช้สัญญาณเตือนภัย การใช้อุปกรณ์
ปิดเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ สภาพแวดล้อมรูปธรรม มีเป้าประสงค์ในการจัดสภาพแวดล้อมระดับชุมชน
และบ้านเรือน ให้มีลักษณะอบอุ่น ปลอดภัย และเพิ่มอ านาจการสังเกตตรวจตรา โดยเริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง
และชุมชนให้เป็นระเบียบและมีระบบ โดยจัดการใช้พื้นที่ให้เป็นสัดส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมอาชญากรรม
มิติที่ 2 สภาพแวดล้อมนามธรรม
มิติที่ 2 นี้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิก
ในชุมชนเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม ภายใต้ค าขวัญที่ว่า “ประชาชนควรผูกสัมพันธ์เพื่อ
ป้องกันอาชญากรรม” โดยมีมาตรการในการด าเนินการ เช่น
1) มาตรการเพื่อนบ้านเตือนภัย มาตรการนี้ประชาชนต้องเป็นเจ้าของผู้ด าเนินการ โดยมีเจ้าหน้าที่
ต ารวจเข้ามาร่วมด้วย และที่ส าคัญก็คือควรสร้างกิจกรรมเพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้รู้จักกัน และเสริมสร้าง
ความกลมเกลียว พบปะสังสรรค์กัน อันจะน าไปสู่ความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรม เช่น ช่วยเป็นหู
เป็นตาเฝ้าดูแลบ้านเรือนซึ่งกันและกัน