Page 11 - คมองานบรหาร_Neat
P. 11

7

                         ทฤษฎีป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ (Situation Crime Prevention)

                         การป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ เป็นแนวความคิดที่มีวิธีการป้องกันโดยมุ่งเน้นที่จะช่วยลด
                  โอกาสในการเกิดอาชญากรรม ซึ่งแตกต่างจากนักอาชญาวิทยาส่วนใหญ่ที่เริ่มศึกษาจากพฤติการณ์ที่น าไปสู่


                  รูปแบบของการก่ออาชญากรรม โดยการท าความเข้าใจกับพฤติการณ์เหล่านั้น แล้วใช้เป็นกลไกในการน าไปสู่
                  การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดโอกาสในการก่ออาชญากรรม


                         การป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์จึงเป็นการป้องกันมากกว่าการลงโทษหรือการจับผิดอาชญากร

                  และเป็นการลดแรงจูงใจในการก่ออาชญากรรมจากผู้กระท าผิด

                         การลดโอกาสในการกระท าผิด คือ

                         - มุ่งไปที่รูปแบบโดยเฉพาะของอาชญากรรม
                         - น ามาซึ่งการสร้าง การจัดการ หรือการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบตามลักษณะที่ควรจะเป็น

                  อย่างถาวร
                         - ท าให้การก่ออาชญากรรมเป็นเรื่องยากมากขึ้น และมีความเสี่ยง หรืออาจได้ไม่คุ้มเสีย

                         ทฤษฎีที่ใช้ มุ่งเน้นที่การสร้างกลไกความปลอดภัย ที่จะช่วยในการปกป้องผู้คนด้วยการท าให้อาชญากร

                  รู้สึกว่าพวกเขาอาจจะไม่สามารถที่จะก่ออาชญากรรม หรือจะอยู่ในสถานการณ์ที่คนร้ายอาจจะถูกจับหรือตรวจพบ

                  ซึ่งจะส่งผลให้คนร้ายไม่เต็มใจที่จะกระท าผิด และเป็นเหตุให้อาชญากรทุกคนจะประเมินโอกาสที่จะก่อ

                  อาชญากรรมได้ สิ่งที่จะได้รับ วัดความสูญเสียและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความล้มเหลว แล้วค่อยลงมือ

                         ตัวอย่างหนึ่งของการป้องกันอาชญากรรมตามสถานการณ์ คือการบังคับใช้ระบบจราจรอัตโนมัติ โดยใช้

                  กล้องอัตโนมัติบนถนนที่จะจับคนขับรถที่ก าลังขับรถเร็วและฝ่าฝืนสัญญาณไฟ ระบบนี้ได้รับการติดตั้งและ

                  มีการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นความพยายามที่จะท าให้พฤติการณ์การขับขี่ที่ผิดกฎหมายลดลง ท าให้คนที่มีโอกาส

                  จะกระท าความผิดเกิดความรู้สึกเสี่ยงที่จะได้รับโทษ

                         ทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Window Theory)

                         ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นใน ค.ศ.1982(พ.ศ.2525) โดยวิลสัน และเคลลิ่ง(James G.Willson และ George

                  L.Kelling) นักอาชญาวิทยาชาวอเมริกัน เคลลิ่ง (Kelling) กล่าวถึงทฤษฎีหน้าต่างแตกว่า “เป็นความคิด

                  ที่เจาะลึกไปถึงสิ่งที่ต ารวจสามารถปฏิบัติได้เพื่อลดความหวาดระแวงของประชาชน ลดอาชญากรรมธรรมดา

                  และรวมทั้งลดอาชญากรรมที่รุนแรงด้วย”

                         ตัวอย่างทฤษฎีนี้ กล่าวคือ เมื่อต ารวจพบเห็นอาคารที่กระจกหน้าต่าง ประตู ฝาบ้าน รั้ว ฯลฯ

                  แตกหรือเสียหายจากการขว้าง/ปา ทุบตี พ่นสีสเปรย์ใส่ ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากอาคารนั้นมีผู้อยู่อาศัย

                  ต ารวจควรสอบถามถึงสาเหตุความเป็นมา ถ้ารู้ตัวผู้กระท าผิด ก็ต้องจัดการตามขั้นตอนของกฎหมาย หากไม่

                  รู้ตัวผู้กระท าผิด ก็ควรแนะน าให้ท าการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปกติ แต่ถ้ากรณีอาคารที่เสียหายเป็นอาคาร

                  ไร้ผู้ที่อยู่อาศัย ก็ควรติดต่อเจ้าของหรือผู้เกี่ยวข้องให้มาจัดการแก้ไข ทั้งนี้ด้วยเจตนาที่ไม่ต้องการปล่อยให้
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16