Page 39 - PDCAชีวะ
P. 39
รายงานการสืบเสาะความรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
ข้อมูลพรรณไม้ที่น่าสนใจ ชนิดที่ 13
ชื่อพื้นเมือง กระทุ่มบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Neonauclea purpurea (Roxb.) Merr.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบหรือไม่ผลัดขนาดกลางถึง
ขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-30 เมตร
บางครั้งมีพูพอน ลําต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับ
ลําต้น ปลายกิ่งโน้มลง เปลือกลําต้นเป็นสีเทาแก่ แตก
เป็นร่องตามยาว มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดย
สามารถพบได้ตั้งแต่ประเทศเนปาล บังกลาเทศ ศรี
ลังกา อินเดีย พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ไป
จนถึงฟิลิปปินส์และปาปัวนิวกินี ส่วนในประเทศไทย
สามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักจะขึ้นตามป่าเบญจ
พรรณ ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง หรือตามหุบเขาหรือริม
ลําธารที่ระดับความสูงจากระดับนํ้าทะเลตั้งแต่ 500-
1,500 เมตร
ประโยชน์
ไม้กระทุ่มมีเนื้อไม้ที่ละเอียด สีเหลืองหรือสีขาว สามารถ
นํามาใช้ทําพื้นและฝาที่ใช้งานร่ม หรือนํามาใช้ทํากล่อง
ทําอุปกรณ์หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีนํ้าหนักเบา และยัง
สามารถนํามาใช้ทําเป็นเยื่อกระดาษได้อีกด้วย