Page 16 - 11. รายงานกิจกรรม KM กลุ่ม AVM Chamber Flight_มี.ค.60_V3 (final)
P. 16
- ๑๕ -
๗. ผลการด าเนินกิจกรรม
๗.๑ การจัดท า “คู่มือ การปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศชนิดความกดดันต่ า แบบบินที่ ๑
(Hypobaric Chamber Flight Type I)” ขึ้นใช้เป็นคู่มือการปฏิบัติงานและฝึกอบรม บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่
เป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องปรับบรรยากาศของ รพ.จันทรุเบกษา พอ.
๗.๒ ผลการประเมินความรู้การปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศ โดยใช้คู่มือฯ ประกอบการ
ปฏิบัติของ น./จนท.ผู้ปฏิบัติงานทางห้องปรับบรรยากาศ รพ.จันทรุเบกษา พอ. ซึ่งการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม
และเป็นการฝึกปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศแก่ศิษย์การบินจริง (การอบรมสรีรวิทยาการบินแก่ศิษย์
การบินประถม ที่ รพ.จันทรุเบกษา พอ. ปีละ ๒ ครั้ง) คือ ศิษย์การบิน รุ่น น.๑๔๐-๖๐-๑ เมื่อ ๑๐–๑๓ ม.ค.๖๐
จ านวน ๖ เที่ยวบิน และศิษย์การบิน รุ่น น.๑๔๑-๖๐-๒ เมื่อ ๒๐ – ๒๓ มิ.ย.๖๐ จ านวน ๖ เที่ยวบิน พบว่า
จนท.ผู้ปฏิบัติงานทางห้องปรับบรรยากาศ รพ.จันทรุเบกษา พอ. ทุกคนสามารถปฏิบัติการบินทางห้องปรับ
บรรยากาศได้ถูกต้องทุกขั้นตอน โดยไม่มีรุ่นพี่เป็น “พี่เลี้ยง” เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ก าหนดไว้
โดยมีผลการประเมินหลังกิจกรรม พบว่า น./จนท.เวชศาสตร์การบินฯ จ านวน ๑๔ คน ที่มีความรู้ในระดับดีมาก
จ านวน ๑๑ คน (ร้อยละ ๗๘.๕๗) และระดับดี ๓ คน (ร้อยละ ๒๑.๔๓) ระดับพอใช้และปรับปรุงไม่มี รวมผู้ที่
ความรู้ระดับดีขึ้นไป มีจ านวน ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ เป็นไปตามตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ก าหนดไว้ คือ
ร้อยละของเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์การบิน ปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศ ชนิดความกดดันต่ า แบบบินที่ ๑
ได้ในระดับดีขึ้นไป เป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐
๘. ประโยชน์ที่ได้รับ
๘.๑ ระดับหน่วยงาน
๘.๑.๑ น./จนท.เวชศาสตร์การบิน รพ.จันทรุเบกษา พอ.ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานห้องปรับบรรยากาศ
สามารถปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศ ชนิดความกดดันต่ า แบบบินที่ ๑ ส าหรับศิษย์การบินประถม
ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย เป็นการพัฒนาสมรรถนะก าลังพลตามวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ ทอ.เพื่อให้
ทอ. มีขีดความสามารถที่เพียงพอและเหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ