Page 15 - 11. รายงานกิจกรรม KM กลุ่ม AVM Chamber Flight_มี.ค.60_V3 (final)
P. 15
- ๑๔ -
๖.๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
เพื่อให้การจัดการความรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงได้ด าเนินการชุมชนนักปฏิบัติ (CoP)
เรื่องการปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศชนิดความกดดันต่ า จัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
- Morning Brief ทุกเช้าวันอังคาร
- จัดให้มี อบรมทบทวน และฝึกปฏิบัติ ฝึกอบรมภายในหน่วยโดย น.สรีรวิทยาการบิน
รพ.จันทรุเบกษา พอ. ที่มีความรู้ความช านาญ เป็นวิทยากรในรูปแบบ “พี่สอนน้อง” เดือนละ ๒ ครั้ง
- จัดเป็นตารางการฝึกหมุนเวียนฝึกปฏิบัติทุกระบบทุกคนและทดสอบความรู้ กรณีที่ยังต้องให้
ค าแนะน าหรือแก้ไขการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง จะต้องฝึกปฏิบัติซ้ าในระบบงานเดิมจนกระทั่งปฏิบัติได้จริง จึงให้ฝึก
ปฏิบัติในระบบอื่น ๆ ต่อไป
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ จนท.ชอ. เมื่อท าการตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของห้องปรับ
บรรยากาศทุก ๖ เดือน
๖.๗ การเรียนรู้
เนื่องจากการปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศ ต้องให้ได้รับความรู้และเกิดทักษะ จึงได้
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง น./จนท.ผู้ปฏิบัติงานทางห้องปรับบรรยากาศ รพ.จันทรุเบกษา พอ. และมี
การทบทวนหลังปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศ (Post Flight Brief หรือ After Action Review) ทุกครั้ง
รวมทั้ง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับ จนท.ของ สวบ.ทอ. และ ชอ. ท าการสรุปบทเรียนที่ได้รับ เพื่อน าไป
พัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อให้เกิดความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่องตามแนวคิด SECI model สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
เพิ่มเติม คือ
(๑) ขณะท าการบิน ทางห้องปรับบรรยากาศ อาจเกิดภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ขึ้นได้ การปฏิบัติตาม
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือ ทุกครั้งที่มีการฝึกปฏิบัติการบินทางห้องปรับบรรยากาศ ประจ าเดือน จะสมมติ
สถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นและให้ฝึกปฏิบัติตามแนวทางที่ก าหนดในกรณีฉุกเฉินนั้นๆ ด้วย
(๒) จากการใช้คู่มือฯ พบว่าการปฏิบัติงานในระบบต่าง ๆ มีการปฏิบัติหลายขั้นตอน และต้อง
ปฏิบัติต่อเนื่องสอดคล้องกัน เอกสารคู่มือมีข้อมูลที่ชัดเจนแต่ขณะปฏิบัติงานเปิดดูยาก กลุ่มร่วมกันพิจารณา
ให้จัดท าเป็นขั้นตอนการปฏิบัติ เรียงล าดับตามระยะเวลาที่สอดคล้องกับการฝึกปฏิบัติในห้องปรับบรรยากาศ
ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นการปฏิบัติ
(๓) เจ้าหน้าที่ Crew Chief ที่ท าหน้าที่ทั้งการเปิดระบบอกซิเจน และเครื่องยนต์ มีความเสี่ยง
ต่ออันตรายจากน้ ามันและหล่อลื่นของเครื่องยนต์ที่อาจติดตัวแล้วสัมผัสกับออกซิเจนจะเกิดเพลิงไหม้ จึง
ก าหนดเป็นขั้นตอนที่เคร่งครัด คือ ให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบออกซิเจนก่อน ปฏิบัติงานกับเครื่องยนต์ ทุกครั้ง