Page 123 - e-book Health Knowledge Articles
P. 123

ป้องกันภัยผู้สูงวัย....จัดสภาพแวดล้อมบ้านให้เหมาะสม


                      ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันเนื่องมาจากการเสื่อมสมรรถภาพตาม
               อายุที่มากขึ้น  จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านปัญหาสุขภาพและ

               สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการเกิดหกล้มแล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและ
               ผลกระทบตามมามากมายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เกิดการบาดเจ็บ กังวลใจ กลัว
               บางรายอาจจะต้องรักษาอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานานบุคคลในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการ
               ดูแลผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องเข้าใจปัญหา เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ

               อย่างถูกต้องและเหมาะสม
                      ผู้สูงอายุหกล้มหรือลื่นล้มถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง เพราะนำมาซึ่งการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ
               หรือเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่เกิดจากการเสียการทรงตัวของร่างกายเป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุด
               รองลงมาคือ อาการหน้ามืดวิงเวียน เป็นลม เนื่องจากเป็นวัยที่มีความเสื่อมของร่างกาย ได้แก่

               สายตาพร่ามัว การทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคงจากการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก ข้อ
               รวมทั้งอาจพบอาการหลงลืม หรือสมองเสื่อมได้มากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอก ได้แก่
               พื้นลื่น สะดุดสิ่งกีดขวาง พื้นต่างระดับ แสงสว่างในบ้านที่ไม่เพียงพอ ยังทำให้เกิดผู้สูงอายุลื่นล้ม
               ด้วย

                      ความเสื่อมของร่างกายไม่สามารถแก้ไขได้ แต่การจัดสภาพแวดล้อมในบ้านสำหรับ
               ผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการลื่นล้มสามารถแก้ไขได้ และเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้สูงอายุ
               ใช้เวลาส่วนใหญ่ในบ้านพักอาศัย ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมในบ้านที่เหมาะสมถือเป็นการ
               ป้องกัน" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวและว่า หลักการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่

               1.พื้น ควรปรับให้เป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระและไม่ขัดมันจนลื่น โดยเฉพาะห้องน้ำ เพราะการเปียก
               ลื่นทำให้เกิดอุบัติเหตุง่ายและรุนแรง ควรหมั่นทำความสะอาดไม่ให้มีคราบสบู่หรือตะไคร่ตกค้าง
               บนพื้น อาจนำแผ่นกันลื่นมาวางไว้ ทำราวเกาะไว้ยึดทรงตัว เปลี่ยนส่วนส้วมซึมเป็นแบบนั่งราบ
               เพราะส้วมซึมจะทำให้ลำบากและปวดในการงอเข่า เวลาลุกนั่งอาจเซหรือล้มได้ และบริเวณบ้าน

               ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ เพราะอาจทำให้สะดุดหกล้ม 2.บันได ควรติดตั้งราวจับ แต่ละขั้นควรมี
               ความสูงเสมอกัน ไม่ชันมากจนเกินไป ไม่วางของกีดขวางทางเดิน ควรมีแสงสว่างเพียงพอตลอด
               แนวบันได ทั้งนี้ พบว่าในต่างจังหวัดบันไดบ้านมักจะมีลักษณะแคบ สูงชัน และมีพื้นของบันไดที่

               ไม่เรียบเสมอกัน จึงมักทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงมา ดังนั้น ควรเพิ่มความกว้างของ
               ช่องทางเดิน และขยายความกว้างของขั้นบันได หรือถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้สูงอายุพักอาศัยบริเวณ
               ชั้นล่าง 3.แสงสว่าง ต้องมีเพียงพอ โดยเฉพาะบันได ห้องน้ำ ประตู และทางเดิน สวิตซ์ไฟ

                                                                                           117
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128