Page 64 - e-book Health Knowledge Articles
P. 64
สตรีใส่ใจตรวจ“มะเร็งเต้านม” รู้ทันด้วยตนเอง
มะเร็งเต้านม เกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจจะ
เกิดเป็นมะเร็ง เต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็น
มะเร็งที่พบได้บ่อยพบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็ง
ทั้งหมด และมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้น การดูแลตัวเองเพื่อลด
ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก
และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือ
กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมีโอกาส
ที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว
โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตสูง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่ อายุ พันธุกรรม ประวัติการเกิดมะเร็งใน
ครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านมของตัวเอง ปัจจัยของฮอร์โมน เช่น อายุเริ่มต้นของการมี
ประจำเดือน อายุที่หมดประจำเดือน การมีบุตร การให้นมบุตร ประวัติการใช้ยาฮอร์โมนทดแทน
ในวัยทอง นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงในแง่พฤติกรรมเช่น ความอ้วน การรับประทานอาหาร การ
ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเคยได้รับการฉายรังสี
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีอาการอะไร โดยมากมักจะรู้ได้โดย คลำได้ก้อนที่เต้า
นมหรือรักแร้มีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเต้านมต่างกันอย่างผิดปกติ มีน้ำไหลออก
จากหัวนม เจ็บ หรือหัวนมถูกดึงรั้ง ผิวเต้านมจะเหมือนเปลือกส้ม
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80
ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-
10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดู หรือได้รับการ
ตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือนวิธีการตรวจ 3
ท่า ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวา สังเกตรูปร่าง ลักษณะความผิดปกติของผิวหนัง
รอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้
58