Page 66 - e-book Health Knowledge Articles
P. 66

พฤติกรรมกินเค็ม  ......น่าห่วง เสี่ยงปัญหาสุขภาพ


                        จากข้อมูลสำรวจสุขภาพการบริโภคโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือของประชากรไทยโดยการ
               ตรวจร่างกายปี 2551-2552 พบว่า ค่าเฉลี่ยของการบริโภคโซเดียมอยู่ที่ 3,264 มิลลิกรัมต่อ

               วัน แสดงให้เห็นว่าประชากรไทยได้รับโซเดียมในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการต่อวันเกิน 2,000
               มิลลิกรัมต่อวัน ทำให้ประชากรไทยนั้นประสบกับภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
               ร้ายแรงหลายโรคกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรในวัยผู้ใหญ่ หรือกว่า 10 ล้านคน  มีผู้ที่เป็น
               โรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน

                        โซเดียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากโซเดียมเป็นเกลือแร่ช่วย
               ในกระบวนการที่สำคัญของร่างกายมีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำรอบ ๆ เซลล์และเนื้อเยื่อภายใน
               ร่างกาย บางกรณีจะพบว่าแพทย์ใช้โซเดียมรักษา  ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากมีส่วน
               ช่วยให้เพิ่มระดับความดันโลหิต ดังนั้น การกินเค็มและการบริโภคโซเดียมอย่างเหมาะสมจึงมีส่วน

               ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตามการกินเค็มมากเกินไป
               ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ เช่น  โรคไต โรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ
                       โดยปกติคนทั่วไปไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจากการ
               รับประทานอาหารในแต่ละมื้อร่างกายได้รับโซเดียมเพียงพอแล้ว จึงควรระมัดระวังอาหารมื้อย่อย

               หรือขนมที่อาจทำให้ได้รับโซเดียมเกินในแต่ละวัน การลดพฤติกรรมกินเค็มอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ
               ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีวิธีที่จะช่วยลดการได้รับโซเดียมนั้นสามารถทำได้ไม่ยาก ดังนี้
                           - อ่านฉลากอาหาร และเลือกซื้ออาหารที่มีโซเดียมต่ำ

                           - กินอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงแทนอย่างมันฝรั่ง มันหวาน กล้วย แคนตาลูป หรือผัก
                            ป่วยเล้ง เนื่องจากโพแทสเซียมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด
                            สมอง โรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคไตหรือผู้ที่กำลังใช้ยารักษาโรคบางโรค
                            ควรระมัดระวังการได้รับโพแทสเซียมเกินจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน
                           - ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศแทนเกลือเมื่อปรุงอาหาร เช่น กระเทียม ยี่หร่า พริก และใบ

                            มะกรูด เป็นต้น
                           - ลดการเติมเครื่องปรุงที่มีโซเดียม เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม และผง
                            ชูรส เป็นต้น รวมถึงอาหารที่มีน้ำจิ้มเป็นเครื่องเคียง

                           - หลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูป ไม่ว่าเป็นอาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง ไส้กรอก
                            บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลาร้า ซึ่งควรเปลี่ยนไปกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุขใหม่จะได้
                            ประโยชน์จากสารอาหารมากกว่า

                                                                                            60
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71