Page 9 - เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น
P. 9

2



                  เรื่องที่  1  ความเปนมา ความหมาย หลักการแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ


                                  พอเพียง


                  ความเปนมาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


                          เศรษฐกิจพอเพียงเปนปรัชญาที่ชี้แนวทางการดํารงอยูและปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จ

                  พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดํารัสแกพสกนิกรชาวไทยมาตั้งแตป พ.ศ. 2517  มีใจความวา

                  “...การพัฒนาประเทศจําเปนตองทําตามลําดับขั้น ตองสรางพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช
                  ของประชาชนสวนใหญเปนเบื้องตนกอนโดยใชวิธีการและใชอุปกรณที่ประหยัด แตถูกตองตามหลักวิชา

                  เมื่อไดพื้นฐานมั่นคงพรอมพอควร และปฏิบัติไดแลว จึงคอยสรางคอยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจ

                  ขั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับตอไป...” และนับจากนั้นเปนตนมาพระองคไดทรงเนนย้ําถึงแนวทางการพัฒนาหลัก
                  แนวคิดพึ่งตนเองเพื่อใหเกิดความพอมี พอกิน พอใชของคนสวนใหญ โดยใชหลักความพอประมาณ การ

                  คํานึงถึงความมีเหตุผล การสรางภูมิคุมกันในตัวที่ดี ตลอดจนทรงเตือนสติปวงชนชาวไทยไมใหประมาท มี

                  ความตระหนักถึงการพัฒนาอยางเปนขั้นเปนตอนที่ถูกตองตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเปนกรอบใน

                  การปฏิบัติและการดํารงชีวิต
                         ในป พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ นับวาเปนบทเรียนของการพัฒนาที่
                  ไมสมดุลและไมมีเสถียรภาพ  ซึ่งสงผลกระทบตอความเปนอยูของประชาชนสวนใหญ สวนหนึ่งเปนผลมา

                  จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ไมไดคํานึงถึงระดับความเหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ หรือความ

                  พรอมของคนและระบบและอีกสวนหนึ่งนั้น การหวังพึ่งพิงจากตางประเทศมากเกินไปทั้งในดานความรู เงิน
                  ลงทุน หรือตลาด โดยไมไดเตรียมสรางพื้นฐานภายในประเทศใหมีความมั่นคงและเขมแข็ง หรือสราง

                  ภูมิคุมกันที่ดีเพื่อใหสามารถพรอมรับความเสี่ยงจากความผกผันเปลี่ยนแปลงของปจจัยภายในและภายนอก
                  บทเรียนจากการพัฒนาที่ผานมานั้นทําใหประชาชนคนไทยทุกระดับในทุกภาคสวนของสังคม ทั้งภาครัฐ

                  เอกชน ประชาสังคม นักวิชาการ หันกลับมาทบทวนแนวทางการพัฒนาและการดําเนินชีวิตของคนในชาติ

                  แลวมุงใหความสําคัญกับพระราชดําริของพระบามสมเด็จพระเจาอยูหัวในเรื่องการพัฒนาและการดําเนิน
                  ชีวิตแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาคนควาพัฒนาความรู ความเขาใจเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจ

                  พอเพียงทั้งในเชิงกรอบแนวคิดทางทฤษฎีและใชเปนแนวในการนําไปประยุกตใชในชีวิตประจําวันมากขึ้น

                         สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ไดเชิญผูทรงคุณวุฒิจากหนวยงาน
                  ตางๆ มารวมกันพิจารณา กลั่นกรอง พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวที่ได

                  พระราชทานแกปวงชนชาวไทยในโอกาสตางๆ ที่เกี่ยวของกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแลวสรุปเปนนิยาม

                  ความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และไดอัญเชิญเปนปรัชญานําทางในการจัดทําแผนพัฒนา
                  เศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) และฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14