Page 14 - เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น
P. 14

7



                         ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไดรับการเชิดชูสูงสุดจากองคการสหประชาชาติ (UN) โดยนาย

                  โคฟ อันนัน ในฐานะเลขาธิการองคการสหประชาชาติ ไดทูลเกลาฯ ถวายรางวัล  The  Human
                  Development  Lifetime  Achievement  Award แกพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เมื่อวันที่ 26

                  พฤษภาคม 2549 และไดมีปาฐกถาถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวา เปนปรัชญาที่มีประโยชนตอประเทศ

                  ไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มไดจากการสรางภูมิคุมกันในตนเอง สูหมูบาน และสูเศรษฐกิจในวง
                  กวางขึ้นในที่สุด นาย Hakan Bjorkman รักษาการผูอํานวยการ UNDP ในประเทศไทยกลาวเชิดชูปรัชญา

                  ของเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP นั้นตระหนักถึงวิสัยทัศนและแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จ

                  พระเจาอยูหัวฯ โดยที่องคการสหประชาชาติไดสนับสนุนใหประเทศตาง ๆ ที่เปนสมาชิก 166 ประเทศ

                  ยึดเปนแนวทางสูการพัฒนา ประเทศแบบยั่งยืน


                  หลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                         พระราชดํารัสที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงพระราชทานแกพสกนิกรชาวไทยในเรื่อง

                  เศรษฐกิจพอเพียงนั้น คือการมุงเนนใหยึดวิถีชีวิตไทย โดยหันกลับมายึดเสนทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)

                  ในการดําเนินชีวิตใหสามารถพึ่งตนเองได โดยใชหลักการพึ่งตนเอง 5 ประการ คือ (สํานักงาน

                  คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ,2547:2-3)

                         1.  ดานจิตใจ ทําตนใหเปนที่พึ่งของตนเอง มีจิตใจที่เขมแข็ง มีจิตสํานึกที่ดี สรางสรรคใหตนเอง

                  และชาติโดยรวม มีจิตใจเอื้ออาทร ประนีประนอม ซื่อสัตยสุจริต เปนประโยชนสวนรวมเปนที่ตั้ง

                  ดังกระแสพระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เกี่ยวกับการพัฒนาความวา “...บุคคลตองมี

                  รากฐานทางจิตใจที่ดี คือ ความหนักแนนมั่นคงในสุจริตธรรมและความมุงมั่นที่จะปฏิบัติหนาที่ใหจนสําเร็จ ทั้ง

                  ตองมีกุศโลบายหรือวิธีการอันแยบยลในการปฏิบัติงาน ประกอบพรอมดวยจึงจะสัมฤทธิ์ผลที่แนนอนและ

                  บังเกิดประโยชนอันยั่งยืนแกตนเองและแผนดิน...”

                         2.  ดานสังคม แตละชุมชนตองชวยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเปนเครือขายชุมชนที่แข็งแรง เปน

                  อิสระ ดังกระแสพระราชดํารัสความวา “...เพื่อใหงานรุดหนาไปพรอมเพรียงกัน ไมลดหลั่น จึงขอใหทุกคน

                  พยายามที่จะทํางานในหนาที่อยางเต็มที่ และใหมีการประชาสัมพันธกันใหดี เพื่อใหงานทั้งหมดเปนงานที่

                  เกื้อหนุนสนับสนุนกัน...”

                         3.  ดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ใหใชและจัดการอยางฉลาดพรอมทั้งการเพิ่มมูลคา

                  โดยใหยึดหลักการของความยั่งยืนและเกิดประโยชนสูงสุด ดังกระแสพระราชดํารัสความวา “...ถารักษา

                  สิ่งแวดลอมใหเหมาะสม นึกวาอยูไดอีกหลายรอยป ถึงเวลานั้นลูกหลานของเรามาก็อาจหาวิธีแกปญหา

                  ตอไปเปนเรื่องของเขา ไมใชเรื่องของเรา แตเราก็ทําได ไดรักษาสิ่งแวดลอมไวใหพอสมควร...”
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19