Page 15 - เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น
P. 15

8



                         4.  ดานเทคโนโลยี จากสภาพแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเทคโนโลยีที่เขามาใหมทั้งดีและไมดี

                  จึงตองแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปญญาชาวบาน และเลือกใชเฉพาะที่สอดคลองกับความตองการของ

                  สภาพแวดลอม ภูมิประเทศ สังคมไทย และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปญญาของเราเอง ดังกระแส

                  พระราชดํารัสความวา “...การสงเสริมที่ชาวบานชาวชนบทขาดแคลน และความตองการ คือ ความรูในดาน

                  เกษตรกรรมโดยใชเทคโนโลยีสมัยใหมเปนสิ่งที่เหมาะสม...” “...การใชเทคโนโลยีอยางใหญโตเต็มรูปหรือ

                  เต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศยอมจะมีปญหา...”

                         5.  ดานเศรษฐกิจ แตเดิมนักพัฒนามักมุงที่จะเพิ่มรายไดและไมมีการมุงที่การลดรายจาย ในเวลา

                  เชนนี้จะตองปรับทิศทางใหม คือ จะตองมุงลดรายจายกอนเปนสําคัญและยึดหลักพออยู พอกิน พอใช และ

                  สามารถอยูไดดวยตนเองในระดับเบื้องตน ดังกระแสพระราชดํารัสความวา “...การที่ตองการใหทุกคนพยายาม

                  ที่จะหาความรูและสรางตนเองใหมั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะใหตัวเองมีความเปนอยูที่กาวหนา  ที่มี

                  ความสุข พอมี พอกิน เปนขั้นหนึ่งและขั้นตอไป ก็คือใหมีเกียรติวายืนไดดวยตนเอง...” “...หากพวกเรา

                  รวมมือรวมใจกันทําสักเศษหนึ่งสวนสี่ ประเทศชาติของเราก็สามารถรอดพนจากวิกฤติได...”



                  ความสําคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                         ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญตอการพัฒนาประเทศและพัฒนาคน ดังนี้
                         1.  เศรษฐกิจพอเพียงเปนปรัชญาที่มีความสําคัญยิ่งสําหรับการขจัดความยากจน และการลดความ

                  เสี่ยงทางเศรษฐกิจ

                         2.  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเปนพื้นฐานของการสรางพลังอํานาจของชุมชนและการพัฒนา

                  ศักยภาพชุมชนใหเขมแข็งเพื่อเปนรากฐานของการพัฒนาประเทศ
                         3.  เศรษฐกิจพอเพียงชวยยกระดับความรับผิดชอบตอสังคมของบริษัทดวยการสรางขอปฏิบัติ

                  ในการทําธุรกิจที่เนนผลกําไรระยะยาวในบริบทที่มีการแขงขัน
                         4.  หลักการเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญเปนอยางยิ่งตอการปรับปรุงมาตรฐานของ

                  ธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ
                         5.  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใชเปนแนวทางในการกําหนดนโยบายของชาติ

                  เพื่อสรางภูมิคุมกันตอสถานการณที่เขามากระทบโดยฉับพลัน เพื่อปรับปรุงนโยบายตางๆ ใหเหมาะสม

                  ยิ่งขึ้น และเพื่อวางแผนยุทธศาสตรในการสงเสริมการเติบโตที่เสมอภาคและยั่งยืน
                         6.  ในการปลูกฝงจิตสํานึกพอเพียงจําเปนตองมีการปรับเปลี่ยน คานิยม และความคิดของคน

                  เพื่อใหเอื้อตอการพัฒนาคน
                         7.  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชวยใหมนุษยมีความพออยู พอกิน พอใช พึ่งตนเองได และมี

                  ความสุขตามอัตภาพ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20