Page 30 - สรุปติว
P. 30
30
- ผู้พักอาศัยต้องไม่วางสิ่งของ กองวัสดุ กีดขวางการสัญจร หรือทําให้เกิด สิ่งสกปรกบนพื้นที่ส่วนกลาง หรือทําให้สิ่งแวดล้อม
ขาดความเป็นระเบียบและสวยงามในเขตอาคารที่พัก หรือยินยอมให้ผู้อื่นนํายานพาหนะมาจอดภายในบริเวณอาคารที่พักเป็นประจํา
- ไม่ขูด กะเทาะ ขีดเขียนข้อความ ภาพ พ่นสี หรือกระทําอื่นใด ให้ปรากฏตามผนังอาคารที่พัก แนวรั้ว หรือในพื้นที่ส่วนกลาง
- ไม่ใช้เตาฟืน หรือเชื้อเพลิงให้เกิดควันไฟ หรือกลิ่นรบกวนผู้อื่น และห้ามมิให้ใช้แก๊สในการปรุงอาหาร
- ผู้พักอาศัยต้องไม่กระทําการใด ๆ เป็นที่รังเกียจและไม่เหมาะสมแก่สังคมหรือน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรืออาคารที่พัก
หรือก่อความเดือดร้อนอันเป็นการรบกวนความปกติสุขของผู้อื่น
- ผู้พักอาศัยต้องไม่กระทําด้วยประการใดๆ ให้เป็นที่เสียหายแก่ภูมิทัศน์ บริเวณอาคารที่พัก เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก
คณะกรรมการ
24. ผู้พักอาศัยต้องยินยอมให้คณะกรรมการหรือบุคคลที่คณะกรรมการกําหนดเข้าไปตรวจสอบห้องพัก เพื่อประโยชน์ในการซ่อมแซม
บํารุงรักษา หรือการอื่น ๆ ได้
25. กรณีผู้พักอาศัยที่ได้อยู่อาศัยในอาคารที่พักแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การเข้าพักอาศัยตามระเบียบนี้ ให้
มีสิทธิพักอยู่อาศัยในอาคารที่พักต่อไปได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
****************************************************************
ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ว่าด้วยเครื่องเรือนบ้านพักและอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2557
1. “เครื่องเรือน” หมายความว่าเครื่องเรือนหรือครุภัณฑ์ที่สํานักงานศาลยุติธรรมจัดหาไว้ประจําบ้านพักและอาคารชุดพักอาศัย และให้
หมายความรวมถึงเครื่องเรือนหรือครุภัณฑ์ที่มีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
2.. ให้สํานักงานจัดให้มีเครื่องเรือนได้ตามความจําเป็น เหมาะสม ประหยัดและเพื่อประโยชน์ในการพักอาศัยในบ้านพักและอาคารชุดพัก
อาศัยทุกประเภทของสํานักงานและศาลยุติธรรมโดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณประจําปี ดังนี้
(1) เครื่องเรือนสําหรับข้าราชการตุลาการ ให้ใช้บัญชีแนบท้ายหมายเลข 1 จํานวน 24 รายการ
(2) เครื่องเรือนสําหรับข้าราชการศาลยุติธรรม ให้ใช้บัญชีแนบท้ายหมายเลข 2 จํานวน 19 รายการ
*************************************************************
ระเบียบฯว่าด้วยการย้ายฯ
1. สํานักงานศาลยุติธรรมอาจย้ายข้าราชการศาลยุติธรรมไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอื่นในระดับเดียวกันได้ โดยเปลี่ยนเลขที่ตําแหน่งใน
สํานักงานศาลยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการย้ายในสายงานเดียวกันหรือเป็นการย้ายเปลี่ยนสายงาน
2. การย้ายข้าราชการศาลยุติธรรม ให้ดําเนินการได้ 2 ครั้ง ต่อปี ประมาณเดือนเมษายนและเดือนตุลาคมของทุกปี เว้นแต่กรณีมีเหตุผล
ความจําเป็นอาจดําเนินการมากกว่านั้นก็ได้
3. ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือระดับสูงจะย้ายได้ในกรณีที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันครบสี่ปีแล้ว
ให้ย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นในระดับเดียวกัน
4. การย้ายข้าราชการศาลยุติธรรมมี 3 ประเภท ได้แก่
(1) การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(2) การย้ายด้วยเหตุผลความจําเป็นตามความประสงค์ของข้าราชการศาลยุติธรรม
(3) การย้ายเพื่อการพัฒนาเพิ่มพูนศักยภาพและประสบการณ์ตามความประสงค์ของข้าราชการศาลยุติธรรม
5. คําร้องขอย้ายด้วยเหตุผลความจําเป็นตามความประสงค์ของข้าราชการศาลยุติธรรมให้หมดอายุภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
นนทวิกา วงษ์สกุล