Page 33 - สรุปติว
P. 33
33
4. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีความคับข้องใจ
อันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
ให้แสดงความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา
5. หากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชาแล้วไม่ได้รับคําชี้แจงหรือได้รับคําชี้แจงไม่เป็นที่พอใจ ก็ให้ ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.ศ
ร้องทุกข์ ได ้
6. ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อ อ.ก.ศ.
ร้องทุกข์ภายในกี่ 30 วันนับแต่วันที่ได้ทราบเรื่องราวอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
7. การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาต้องมีลักษณะอย่างไร จึงจะทําให้เกิดความคับข้องใจอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้น
(1) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสั่ง หรือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอื่นใดโดยไม่อํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ
หน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น
หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็น หรือสร้างภาระให้
เกิดขึ้นเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(2) ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ
(3) ประวิงเวลาหรือหน่วงเหนี่ยวการดําเนินการบางเรื่อง อันเป็นเหตุให้เสียสิทธิหรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
(4) ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามหรือขัดกับระบบคุณธรรมฯ
8. การร้องทุกข์จะร้องได้สําหรับตนเองเท่านั้น
9. ให้ อ.ก.ศ.ร้องทุกข์พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องทุกข์
10. หาก อ.ก.ศ.ร้องทุกข์ พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน และให้บันทึก
เหตุผลความจําเป็นไว้ด้วย
11. เมื่อ อ.ก.ศ. ร้องทุกข์ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้วเห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อํานาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้อง
ทุกข์นั้นถูกต้องแล้ว
ให้ยกคําร้องทุกข์
12. เมื่อ อ.ก.ศ. ร้องทุกข์ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้วเห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อํานาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้อง
ทุกข์นั้นไม่ถูกต้อง
ให้แก้ไขโดยเพิกถอนหรือยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น หรือให้ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
13. เมื่อ อ.ก.ศ. ร้องทุกข์ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้วเห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อํานาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้อง
ทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแต่บางส่วนและไม่ถูกต้องตามกฎหมายบางส่วน
ให้มีมติให้แก้ไขหรือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
14. เมื่อ อ.ก.ศ. ร้องทุกข์ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้วเห็นว่า สมควรดําเนินการโดยประการอื่นใด เพื่อให้ความถูกต้องตาม
กฎหมายและมีความเป็นธรรม หรือสมควรเยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ แม้ผู้ร้องทุกข์จะมิได้มีคําร้องขอ
ให้ดําเนินการได้ตามสมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
********************************************
ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้จําเลย
ในการไต่สวนมูลฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165/1 พ.ศ. 2562
นนทวิกา วงษ์สกุล