Page 31 - สรุปติว
P. 31
31
6. ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ได้รับการบรรจุใหม่ผู้ใดประสงค์ขอย้ายจะต้องได้ปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ไป
รายงานตัวเพื่อปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณาคําร้องขอย้าย เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นอย่างยิ่งเป็น
พิเศษเฉพาะราย
7. ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใดได้รับการเลื่อนขึ้นดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้นหรือได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใด จะต้องมี
ระยะเวลาการปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งไม่น้อยกว่า 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติงาน จึงจะมีสิทธิได้รับการ
พิจารณาคําร้องขอย้าย เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
8. การรับโอนข้าราชการในหน่วยงานอื่นของรัฐมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม ให้คํานึงถึง
(1) ประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ
(2) ความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสม คุณวุฒิ ความชํานาญงาน และประสบการณ์
(3) เป็นตําแหน่งที่ขาดแคลน หรือมีความจําเป็นต่อราชการของสํานักงานศาลยุติธรรม
(4) ผลกระทบอันเกิดจากการรับโอน ในด้านงบประมาณ ด้านขวัญกําลังใจของข้าราชการศาลยุติธรรม
9. ตําแหน่งที่จะนํามาใช้เพื่อการรับโอน ต้องเป็นตําแหน่งว่างที่มีอัตราเงินเดือนและมิใช่เป็นตําแหน่งที่ต้องสงวนไว้
10. ดํารงตําแหน่งระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้กับ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
11. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 5 หรือระดับ 6 เทียบได้กับตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับชํานาญงาน
12. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 7 หรือระดับ 8 เทียบได้กับตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
13. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ขึ้นไป เทียบได้กับตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ
14. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 3 ระดับ 4 หรือระดับ 5 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้กับตําแหน่ง
ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
15. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 6 หรือระดับ 7 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือ ระดับ 4 เทียบได้กับประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ
16. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 8 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้กับประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ
17. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 9 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้กับประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ
18. ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ 10 หรือระดับ 11 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือระดับ 4 เทียบได้กับประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
19. ผู้อํานวยการระดับต้นเทียบได้กับระดับ ระดับ 8
20. ผู้อํานวยการระดับสูง เทียบได้กับระดับ ระดับ 9
21. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสํานักงานศาลยุติธรรม หรือผู้ปฏิบัติงานตรวจและ
แนะนําการปฏิบัติราชการของสํานักงานศาลยุติธรรม
22. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น และระดับสูง
23. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ กี่ 2 ระดับ ได้แก่ ผู้อํานวยการระดับต้น และระดับสูง
24. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 กี่ระดับ ได้แก่ ปฏิบัติการ ชํานาญการ ชํานาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และทรงคุณวุฒิ
25. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ ได้แก่ ปฏิบัติงาน ชํานาญงาน อาวุโส และทักษะพิเศษ
*****************************************************
หลักเกณฑ์การหมุนเวียนงานของข้าราชการศาลยุติธรรม
1. หลักเกณฑ์การหมุนเวียนงานนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้าราชการศาลยุติธรรมมีการส ั่งสมประสบการณ์และเพิ่มพูนความรู้
ความสามารถ
2. หลักเกณฑ์นี้ให้ใช้บังคับในการย้ายข้าราชการศาลยุติธรรมในวาระการย้ายเดือนตุลาคม 2562
3. หลักเกณฑ์นี้กําหนดให้ย้ายข้าราชการเพื่อหมุนเวียนงานกันโดยให้ย้ายข้าราชการศาลยุติธรรม ไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานอื่นที่ตั้งอยู่ในจังหวัด
เดียวกัน หรือตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเหมือนกัน หรือหน่วยงานซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกันหรือหน่วยงานอื่นใดตามที่สํานักงานศาลเห็นสมควรดังนี้
นนทวิกา วงษ์สกุล